25 September 2010

ค่าเงินบาทแข็งเร็วเกินไปอีกแล้ว

โดย วีรพงษ์ รามางกูร
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4248 ประชาชาติธุรกิจ



ขณะ นี้ในวงการธุรกิจต่างก็หวาดผวากับค่าเงินบาทที่จะ แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินตราสกุลอื่น ๆ ในทวีปเอเชียเกือบทั้งหมด รวมทั้งประเทศจีน ซึ่งนับวันจะยิ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยเราเพิ่มขึ้น

ในขณะ ที่เอกชนไม่ว่าจะเป็นสภาหอการค้าก็ดี สภาอุตสาหกรรมก็ดี สื่อมวลชนก็ดี ออกมาส่งเสียงเซ็งแซ่กันไปทั่วว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่านี้จะเป็นการทำลายความสามารถในการแข่งขันของประเทศเรา แต่ผู้ว่าการ ธปท.ก็ดี ประธานคณะกรรมการ ธปท.ก็ดี ออกมาพูดได้อย่างไรก็ไม่ทราบว่า เงินบาทที่แข็งขึ้นไม่กระทบการส่งออก ไม่กระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็เป็นไปกับเขาด้วย ออกมาแก้ต่างให้ ธปท.ถ้า ธปท.ออกมาพูดฝ่ายเดียวก็พอเข้าใจ เพราะ ธปท.ไม่เคยเข้าใจและไม่สนใจ ความรุนแรงของการแข็งค่าของเงินต่อการ ส่งออก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สื่อมวลชนของเราก็ไม่เคยเข้าใจ คอยแต่เอาอกเอาใจ ธปท. เพื่อจะได้ข่าวจากผู้ใหญ่ใน ธปท.

ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นย่อมมี ผลกระทบ ต่อการส่งออก การส่งออกย่อมกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ หลายคนเข้าใจว่าเมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นก็ย่อมทำให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมที่ ต้องนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ถูกลง แต่ไม่พูดว่าผู้ส่งออกที่ขายของเป็นเงินดอลลาร์ เมื่อนำเงินมาแลกเป็นเงินบาท ก็ได้เงินบาทน้อยลงเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่าการลดลงของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ เสมอ ไม่ว่าจะใช้วัตถุดิบ ชิ้นส่วนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งหมดก็ตาม ยิ่งมีต้นทุนจากการนำเข้าน้อย เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร ก็ยิ่งถูกกระทบมาก

ยก ตัวอย่างบริษัทแห่งหนึ่งนำเข้าชิ้นส่วนวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ณ อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าของการนำเข้าที่เป็นวัตถุดิบชิ้นส่วน คิดเป็นเงินบาทได้ 950 บาท เสียค่าขนส่ง ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าเช่า ค่าไฟ ค่าน้ำ รวมเฉลี่ย ต่อหน่วย 5 บาท ขายออกไปได้ 1,000 บาทต่อหน่วย กำไร 5 บาท หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์

ต่อ มาอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนจาก 33 บาท มาเป็น 30 บาท หรือประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนที่นำเข้าก็จะลดลง 9 เปอร์เซ็นต์ด้วย คือประมาณ 81 บาท ส่วนรายรับเมื่อแตกเป็นเงินบาทจะลดลง 9 เปอร์เซ็นต์ด้วย กล่าวคือ ลดลงประมาณ 90 บาท ต้นทุนลดลง 81 บาท แต่รายได้หายไป 90 บาท จากที่เคยกำไร 5 บาท ต่อชิ้น กลายเป็นขาดทุน 4 บาท ต่อชิ้น รายได้ที่แตกเป็นเงินบาทในอัตราแลกเงินบาทที่แข็งขึ้นย่อมลดลงมากกว่าการลด ลงของต้นทุนที่ลดลงเสมอ เพราะไม่มีใครทนขายของที่มีรายได้ต่ำกว่าต้นทุนได้นาน

เมื่อจะตั้ง ราคาขายลอตใหม่ก็ต้องตั้งราคาเพิ่มขึ้น 9 บาท จึงจะกลับมาอยู่ในฐานะเดิม ทำให้ต้องตั้งราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะขายได้ยากขึ้น หรือไม่ก็ต้องลดปริมาณการส่งออกลงในกรณีที่ขึ้นราคาขายไม่ได้ เพราะตลาดมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกอาจจะต้องเลิกการส่งออก ผลิตแค่ขายในประเทศก็พอ ทำให้การส่งออกน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น แม้ตัวเลขการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเงินบาทไม่แข็งขึ้น

ถ้าสัดส่วนของการนำเข้าวัตถุดิบชิ้นส่วนยิ่ง มีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่านี้ เช่น มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ 15 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยมากในกรณีของสินค้าจากภาคเกษตรหรืออาหาร เช่น หมู ไก่ หรืออาหารสำเร็จรูป หรือที่ต่อเนื่องจากภาคเกษตร ประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นต่อต้นทุนการนำเข้าก็จะยิ่งน้อยกว่าราย รับที่ลดลง เมื่อแลกเป็นเงินบาทมากขึ้นก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรลดลงเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่มากกว่าสินค้าที่มีสัดส่วนของการนำเข้าสูงมากขึ้น เช่น สินค้าที่มีสัดส่วนของต้นทุนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนจะลดลงเพียงเล็กน้อย แต่รายรับเมื่อแตกเป็นเงินบาทจะลดลงอย่างเต็มที่

อัตรา แลกเปลี่ยนย่อมกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวด้วย เพราะมีการแข่งขันกันดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมาก เมื่อเงินบาทแข็งขึ้นบริษัทนำเที่ยวก็ต้องขึ้นราคา มิฉะนั้นก็ขาดทุน ทำให้การเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมีราคาแพง

การกล่าวว่า ไม่กระทบกระเทือนต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคก็มีค่าเงินที่ แข็งขึ้น แต่ดูให้ดี ค่าเงินบาทของเราแข็งขึ้นมากกว่าประเทศอื่น ๆ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและสิงคโปร์

การกล่าวว่า เงินบาทที่แข็งขึ้นไม่กระทบการส่งออก ไม่กระทบต่อชาวไร่ชาวนา จึงเป็นการกล่าวอย่างไม่รับผิดชอบ หรือไม่ก็กล่าวโดยไม่รู้ หรือรู้แต่พูดแก้ตัว ถ้ารู้ก็เป็นการกล่าวเท็จ

หนักยิ่งกว่านั้น เคยฟังประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและ ผู้ว่าการ ธปท.พูดว่า จะไม่กำหนดเป้าหมายของอัตราแลกเปลี่ยนแล้วแทรกแซงให้ได้ตามเป้าหมาย แถมย้ำว่า จำไม่ได้หรือ ปี 2540 เราถูกโจมตีค่าเงินบาทเจ็บแสบ แค่ไหน

ไม่ น่าเชื่อว่าจะเป็นคำกล่าวของผู้หลักผู้ใหญ่ใน ธปท.เพราะประเทศที่ถูกโจมตีคือประเทศที่ตรึงค่าเงินไว้แข็งกว่าความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่ฐานะทุนสำรองก็ต่ำ ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดก็ขาดดุล จึงถูกโจมตีให้ค่าเงินอ่อนลง แต่ถ้าค่าเงินควรแข็งและตรึงไว้ให้อ่อน ยังไม่เคยเห็นเงินของประเทศไหนถูกโจมตีให้แข็งขึ้น เพราะถ้าโจมตีก็คือ ขนเงินดอลลาร์มาซื้อเงินบาทแบบหนัก ๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ของ ธปท.ยังมีความคิดเหมือนกับเต่าล้านปีที่หงายท้อง ไม่สามารถปรับตัวปรับความคิด ทั้ง ๆ ที่ฐานะทางการเงินของประเทศไทยเปลี่ยนจากหลังมือเป็นหน้ามือแล้ว ก็ยังไม่ตื่นจากฝันร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540

สาเหตุสำคัญที่เงิน บาทแข็งเร็วมากผิดปกติ ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญก็เพราะ ธปท.ประกาศขึ้นดอกเบี้ย แถมยังประกาศล่วงหน้าว่าจะขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายปี ขณะเดียวกันเจ้าของเงินดอลลาร์คือสหรัฐอเมริกาประกาศตรึงดอกเบี้ยไว้ ไม่ขึ้นดอกเบี้ย จึงเป็นเหตุให้ผลต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินดอลลาร์ถ่างมากขึ้น ผลตอบแทนต่อเงินบาทสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลตอบแทนต่อการถือเงินดอลลาร์ ฝรั่งจึงขนเงินดอลลาร์มาแตกเป็นเงินบาท แล้วนำมาลงทุนในตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้นบ้าง ฝรั่งเลยได้กำไร 3 ต่อ คือ ฝากธนาคารไว้ก็ได้กำไรกว่าอยู่ที่อเมริกา เข้ามาซื้อหุ้น พอหุ้นขึ้นก็ขายได้กำไร พร้อม ๆ กันค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น ยิ่งเข้ามาเงินก็ยิ่งแข็ง ตกลงกำไร 3 เด้ง

ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ตลาดเงินตราต่างประเทศก็เล็ก ตลาดพันธบัตรก็เล็ก ตลาดหุ้นก็เล็ก ฝรั่งนำเงินเข้ามาซื้อ ราคาหุ้นก็ขึ้น ค่าเงินบาทก็ขึ้น เวลาขึ้นเขาก็ขายได้กำไร ได้กำไรไปแล้วก็ไม่ต้องเอาออก ฝากธนาคารในเมืองไทยก็ได้ดอกเบี้ยมากกว่าเมืองนอก

วิธีแก้ไขของ ธปท.ก็น่ารัก คือ ผ่อนผันให้คนไทยนำเงินออกไปลงทุนใน ต่างประเทศได้ แต่คนไทยไม่ได้กินแกลบกินหญ้า ก็รู้เท่า ๆ กับฝรั่ง คือ ฝรั่งขนเงินดอลลาร์เข้าเมืองไทย มาแตกเป็นเงินบาท คนไทยมีเงินบาท ซึ่งมีอนาคตกว่าดอลลาร์ในเรื่องค่าเงิน แล้วคนไทยจะเอาเงินบาท ไปแตกเป็นดอลลาร์ไปลงทุนในต่างประเทศทำไม นอกจากเอาไปซื้อบ้านราคาถูกในสหรัฐ เราอยากเห็นอย่างนั้นหรือ ซึ่งคงจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปัญหาของ ผู้ผลิตในเมืองไทยกำลังเผชิญ

ขณะเดียวกันผู้คนก็ผวากลัวว่า ธปท.จะออกมาตรการแปลก ๆ อย่างที่เคยทำมาแล้ว เหมือนการออกมาตรการให้สำรองการนำเงินเข้า 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2550 วันเดียวดัชนีราคาหุ้นลดลงกว่า 100 จุด มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือที่เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า "market cap" ลดลงกว่าแสนล้านบาท ไม่มีอะไรที่ ธปท.ทำไม่ได้ เพราะความไม่รู้เศรษฐกิจไทย ทั้ง ๆ ที่มีนักเรียนทุนจบปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์นั่งตบยุงกันเต็มสำนักงาน เหลือเชื่อจริง ๆ

ถ้าไม่อยากให้เงินบาทแข็งเร็วอย่างที่ผ่านมาก็ควร ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เลิกพูดว่าบัดนี้ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นแล้ว และควรลดอัตราดอกเบี้ยโดยเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเหมือนด้านหัวกับด้านก้อยของ เหรียญอันเดียวกัน ขณะเดียวกันก็เอาเงินบาทซึ่ง ธปท. มีไม่จำกัดออกมาซื้อดอลลาร์เข้าใส่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ทุนสำรองมีมากขึ้น เงินบาทที่นำออกมาซื้อดอลลาร์ต้องมากพอจนเงินบาทอ่อนลงสู่ระดับที่เป็น เป้าหมายที่ตั้งไว้ในใจ ไม่ต้องบอกใครก็ได้ ค่อย ๆ เคลื่อนไหวก็ได้ แบบจีนเขาทำ ถ้าเห็นว่าสภาพคล่องในตลาดมากเกินไป ก็ออกพันธบัตรของ ธปท.ออกมาดูดซับ กลับคืนไป อย่ากลัวเสียดอกเบี้ยมากทีขึ้นดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนยังไม่เห็นกลัว กลับไปกลัวเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเรื่องอีกนาน เพราะราคาพลังงานก็ไม่น่าจะขึ้นจาก ความต้องการใช้ เมืองไทยนั้นอัตราเงินเฟ้อขึ้นอยู่กับพลังงานกับอัตราแลกเปลี่ยน เอาเรื่องเฉพาะหน้าระยะสั้นก่อน เพราะนโยบายการเงินเป็นนโยบายระยะสั้นไม่ใช่ระยะยาวอย่างที่ท่านว่าที่ผู้ ว่าการเข้าใจ ยิ่งตลาดเงินบาทบ้านเราเป็นตลาดเล็ก ไม่ใช่ตลาดใหญ่อย่างตลาดดอลลาร์ เราต้องเป็นเรือเข็ม ไม่ใช่เรือเอี้ยมจุ๊น อย่างอเมริกา

อีกอย่างอย่าไปเชื่อไอเอ็มเอฟ หรืออยากได้คำชมเชยจากไอเอ็มเอฟมากนัก เพราะกรรมการไอเอ็มเอฟที่มีอิทธิพลมาก ที่นั่นเป็นคนที่ธนาคารกลางอเมริกาส่งมา จุดมุ่งหมายเขาเพื่อประโยชน์ของอเมริกา ไม่ใช่จะมาดูแลผลประโยชน์ของประเทศเรา ผลประโยชน์ของไทยเราก็มีแต่คนไทยเท่านั้นที่จะช่วยกันดูแล

ถ้า ผู้ใหญ่ใน ธปท.ไม่ค่อยรู้เรื่องเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะภาคผลิต ภาคการส่งออก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ พูดน้อย ๆ หน่อยก็จะดี ผู้คนจะได้ไม่รู้ว่า ธปท.ไม่ค่อยรู้เรื่องทางภาคเศรษฐกิจที่ แท้จริงมากนัก

ภาค ธุรกิจทั้งส่งออกและผลิตชิ้นส่วนส่งให้โรงงานผู้ส่งออกที่ทำงานมาทั้งปี เจอฝรั่งมาโยกตลาด 2-3 ที โดย ธปท.ช่วยพูดให้ท้ายด้วยความไร้เดียงสา ฝรั่งเอาไปกินหมด พวกเราทำงานฟรี แถมขาดทุนด้วย แล้วยังถูก ธปท.พูดให้ช้ำใจอีก

เมื่อจะเปลี่ยนผู้ว่าการ ทีแรกก็ดีใจ แต่พออ่านที่ว่าที่ผู้ว่าการให้สัมภาษณ์ก็ดี ฟังดูวิสัยทัศน์ก็ดี ดูจะหนักกว่าเก่าในความไม่เข้าใจเศรษฐกิจของไทย วิกฤตการณ์ทางการเงินที่ผ่านมา ธปท.เป็นผู้ทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ไม่เคยเกิดขึ้นเพราะวินัยทางการคลังในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังเลย

ภาระ การชำระหนี้ในประเทศที่เป็น ภาระแก่ผู้เสียภาษีและงบประมาณแผ่นดิน ก็เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงินในความดูแล ของ ธปท.เป็นส่วนใหญ่ กระทรวงการคลังต้องตั้งงบประมาณจ่ายดอกเบี้ยให้ถึง ปีละ 50,000 ล้านบาท ธปท.ซึ่งสัญญาว่า จะจ่ายเงินต้นก็ไม่เคยผ่อนจ่ายหนี้กว่า 2.2 ล้านล้านบาทนี้เลย

สื่อ มวลชนก็ลำเอียง ธปท.พูดอะไร เชื่อหมด ไม่มีความรู้พอที่จะวิเคราะห์ว่าอะไรถูก อะไรผิด แถมรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังออกกฎหมายให้ ธปท.เป็นอิสระเต็มที่ ปราศจาก การถ่วงดุลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเลย ด้วยเหตุผลเดียว ไม่ไว้ใจนักการเมือง แต่ไว้ใจสถาบันที่เคยสร้างความพินาศให้กับประเทศไทยครั้งแล้ว ครั้งเล่า

การไม่รับผิดชอบ ไม่ทำอะไร ทั้ง ๆ ที่มีหน้าที่ต้องทำ บางทีเสียหายยิ่งกว่า นักการเมืองที่ทุจริตเสียอีก นักการเมือง เขารู้ดีว่าจะเสียหายอย่างไร เพียงแต่เขาพูดเป็นระบบไม่ได้เท่านั้น

รัฐบาลอาจจะพังด้วยเรื่องนี้ก็ได้

ชำแหละโครงสร้างทางการคลัง รายจ่ายพุ่ง-ลงทุนต่ำ-ประสิทธิภาพแย่




ปัญหาหนี้ของภาครัฐ หรือหนี้สาธารณะ ถือเป็น ประเด็นร้อนที่ท้าทายนโยบายการคลังของทุกประเทศทั่วโลก ในขณะนี้ เหตุผลหลักเป็นเพราะวิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ ที่ผ่านมา ได้บีบให้รัฐบาลของทุกประเทศต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น จนกลายเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดวิกฤตรอบ 2 โดยเฉพาะบางประเทศในยุโรป

สำหรับ ประเทศไทย แม้หนี้สาธารณะในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหา สัดส่วนอยู่ที่ 42% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ในอนาคตต้องระมัดระวังมากขึ้น พิจารณาจากผลการศึกษาร่วมระหว่างคณะนักวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่นำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2553 ของ ธปท.เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมาในหัวข้อ "ความท้าทายของนโยบายการคลัง : สู่ความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว" ซึ่งให้ข้อสรุปที่เตือนถึง ปัญหาเชิงโครงสร้างทางการคลังของไทย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ในแง่ของปัญหาเชิงโครงสร้างในอดีตผลการศึกษาพบว่า ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยรายจ่ายงบประมาณที่เป็นภาระผูกพันต่าง ๆ เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการขยายสวัสดิการต่าง ๆ ตามนโยบายสังคมสวัสดิการ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ การสบทบกองทุนประกันสังคม การสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้ม โครงสร้างทางการคลังในอนาคต หรือ 10 ปีข้างหน้าพบว่า หากใช้ สมมติฐานเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ย 4.5% ต่อปี อัตราเงินเฟ้อ 2.5% ต่อปี ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีมีแนวโน้มสูงกว่า 60% ในระยะปานกลาง และภายใต้ข้อสมมติฐานในกรณีจีดีพีต่ำกว่าข้อสมมติฐาน 1% หรือโตเพียง 3.5% จะมีผลให้ระดับหนี้ สาธารณะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปถึง 86.7% ในปี 2573

ประเด็น สำคัญของการศึกษา จึงมุ่งไปที่การศึกษา "บทบาทของนโยบายการคลังในทศวรรษหน้า" โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการรองรับผลกระทบความผันผวนของเศรษฐกิจ (shocks) การเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการส่งเสริมการใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพื่อสร้างโอกาสและรายได้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายหลักของนโยบายการคลังในอนาคต

ประเด็นแรก ความสามารถในการรองรับผลกระทบความผันผวนของเศรษฐกิจ (shocks) พบว่าช่วงปี 2550-2554 การขยายตัวของงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของความสามารถในการ จัดเก็บรายได้ถึง 2 เท่า โดยงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.8% ของจีดีพี ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายด้านสวัสดิการ 12.5% รายจ่ายด้านการศึกษา 11.3% และรายจ่ายอื่น ๆ 6.6% ขณะที่รายได้รัฐบาลสุทธิเพิ่มขึ้นเพียง 4.2%

นอก จากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ในปี 2550 ประเทศไทยยังจัดเก็บรายได้จากภาษีได้ค่อนข้างน้อยเพียง 17.2% ของจีดีพี ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ จัดเก็บได้มากกว่าเฉลี่ย 26.7% ของจีดีพี

ทำให้มีแนวโน้มไปสู่ปัญหาความยั่งยืนทางการคลัง และ อาจไม่รองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงเสนอว่าหากจะรองรับ shocks ได้ รัฐบาลต้องลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้อีก 2.2% ของจีดีพีในปี 2556 เพื่อให้หนี้สาธารณะ ไม่เกิน 60% ในปี 2570 แต่หากเริ่มช้ารอไปจนถึงปี 2565 จะต้องลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ถึง 4.2% ของจีดีพี

นำมาสู่ความท้าทายเรื่อง "การเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน"

ภาย ใต้โครงสร้างทางการคลังดังกล่าวข้างต้น ทำให้งบฯประจำมีสัดส่วนสูงขึ้น ขณะที่งบฯลงทุนลดน้อยลง โดยช่วงปี 2543-2551 สัดส่วนการลงทุนภาครัฐต่อจีดีพีเฉลี่ยอยู่ที่ 7.1% ถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบการลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานของไทยกับค่ากลางของกลุ่มภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (13 ประเทศ) พบว่าอยู่อันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย ทำให้ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของไทยอยู่ในอันดับที่แย่เช่นเดียวกัน

จึง จำเป็นต้องลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกมากโดยใช้เม็ดเงินลงทุนเพิ่มอย่างน้อย 5.5 ล้านล้านบาทใน 10 ปีข้างหน้า หรือ 55% ของจีดีพี โดยทยอยลงทุนปีละ 5.5% ของจีดีพี แต่โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่อยู่ในแผนลงทุนขนาดใหญ่ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ แล้วในปี 2552-2558 วงเงิน 1.2 ล้านล้านบาท หรือปีละ 2% ของจีดีพี

"รัฐบาล ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอีก 3.5% ของจีดีพี แต่มีข้อจำกัดของเพดานเงินกู้ทำให้ลงทุนเพิ่มขึ้นได้เพียง 1% ของจีดีพี จึงจำเป็นต้องพึ่งพิงโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน PPP ถึง 2.5% ของจีดีพี หากต้องการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคเพิ่มเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน"

ทั้งนี้ ผลการศึกษาชี้ชัดว่า ถ้าลงทุนโครงการ PPPs ได้จะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ดีกว่า 4.5% และหนี้สาธารณะจะลดลงด้วย

ประเด็น การส่งเสริมการใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพื่อสร้างโอกาสและรายได้พบว่ารายจ่าย ภาครัฐด้านสวัสดิการทั้งการสาธารณสุขและการศึกษาของไทยไม่ได้แตกต่างจาก ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่ปัญหาอยู่ที่ "ประสิทธิภาพ" การใช้จ่ายและการจัดสรรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

โดยศึกษาพบว่า รายจ่ายภาครัฐด้านการศึกษาต่อจีดีพีปี 2551 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.9% ซึ่งประเทศไทยก็ใช้เงินไม่น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 4.2%

ขณะ ที่รายจ่ายด้านสาธารณสุขก็ไม่ได้ต่างจากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ซึ่งอยู่ที่ 3.2% ต่อจีดีพี แต่ผลลัพธ์ที่วัดจากอายุขัยของคนไทยกลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 75.8 ปี สะท้อนว่าคุณภาพยังต้องการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก ส่วนการใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมพบว่าการเข้าถึงบริการของกลุ่มคนจนมีน้อย มาก คือเข้าไม่ถึง 10% ของคนจนทั้งหมด

สรุปว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้จ่ายด้านสวัสดิการและการจัดสรรให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นหัวใจสำคัญที่ จะลดความเหลื่อมล้ำโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มรายจ่ายสวัสดิการ

สำหรับ การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทางการคลัง เพื่อความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว จะต้องเร่งทำเพราะ รายจ่ายภาระผูกพันของรัฐมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2541 อยู่ที่ 47.6% ต่องบประมาณ และเพิ่มเป็น 74.6% ในปี 2553 ทำให้เป็นข้อจำกัดในการลดรายจ่าย แต่ด้านรายได้ยังมีโอกาสเพิ่มได้อีก

โดยการศึกษาได้อ้างถึงการศึกษา ของธนาคารโลกที่พบว่า ช่วงปี 2542-2546 ตามโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย ควรจัดเก็บภาษีได้ 21.4% ของจีดีพี แต่เก็บได้จริงเพียง 16.2% ของจีดีพี แสดงว่ายังมีศักยภาพในการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 5% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม "การปฏิรูปภาษี" เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ จะสามารถเพิ่มรายได้อีก 1.4-2.8% ภายใต้ข้อเสนอ คือ เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 3% ในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ควรยกเลิกค่ายกเว้นและลดหย่อนที่ให้ผู้มีรายได้สูง (ให้สิทธิเหลือเท่าปี 2551) ขณะเดียวกันก็ให้ขยายฐานภาษีนิติบุคคลธรรมดา เพราะยังมีบริษัทไม่จ่ายภาษีจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นบริษัทนอกตลาดทุน ถ้าทำได้จะเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐสูงสุดถึง 7.78 หมื่นล้านบาท และที่พลาดไม่ได้ คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องมีผลบังคับใช้

สุดท้ายการศึกษาชิ้นนี้ให้ข้อสรุปว่า การจะนำไปสู่ความยั่งยืนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว ต้องทำทุกอย่างพร้อม ๆ กันทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสวัสดิการและการปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพราะยิ่งรอเวลานานยิ่งจะสร้างภาระให้คนรุ่นหลัง



วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4248 ประชาชาติธุรกิจ

แห่ลงทุน"นาฬิกา- ศิลปะ-ไวน์" ตลาดโตมโหฬารล้านล้านเหรียญ



จับกระแสฮอตนักลงทุนแห่ลงทุน"นาฬิกา- ศิลปะ-ไวน์"วงการเซียนเผยมูลค่าผลตอบแทนแรงกว่าหุ้น แนวโน้มมีแต่ขึ้น แต่ต้องฉลาดเลือก ชี้มูลค่าตลาดศิลปะ 1 ล้านล้านเหรียญ

ในงานเสวนาหัวข้อ Alternative Investment : การลงทุนในของสะสมมีค่า ของสมาคม วตท. (สถาบันวิทยาการตลาดทุน) โดยนักสะสมและนักลงทุนชื่อดังของเมืองไทย คือ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ, ดร.วัลลภ วิมลวณิชย์ และนายไพบูลย์ นลินทรางกูล นับเป็นการเปิดเผยถึงกระแสการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ที่นักลงทุนในยุคนี้พากันหันมาให้ความสนใจมากขึ้น

นายไพบูลย์ นลินทรางกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เผยว่า "ในโลกการลงทุนตอนนี้ การลงทุนทางเลือกเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากตลาดหุ้นโลกเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ทำให้การกระจายความเสี่ยงทำได้ยากขึ้น แม้แต่กับตลาดบอนด์ความสัมพันธ์ก็เริ่มมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มสินทรัพย์ที่ไม่ใช่การลงทุนโดยทั่วไปที่คนนิยมกัน (Non-Traditional Asset Classes) ได้รับความสนใจสูงขึ้นในระยะหลัง





"บางครั้งการลงทุนทางเลือกถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อลดความเสี่ยงการลงทุนทั้งหมด โดยเป็นการกระจายความเสี่ยง ซึ่งลักษณะของการลงทุนทางเลือกอาจประกอบด้วย 1.มีความเกี่ยวข้องต่ำกับการลงทุนทั่วไป เช่น หุ้น, 2.อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนเป็นที่ต้องการของนักลงทุน, 3.การลงทุนทางเลือกอาจมีสภาพคล่องน้อย หากเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น, 4.อาจยากที่จะประเมินมูลค่าสินทรัพย์นั้น ๆ ในตลาดปัจจุบัน, 5.อาจมีข้อมูลย้อนหลังจำกัดในแง่ของความเสี่ยงและผลตอบแทน, 6.ต้องมีการวิเคราะห์การลงทุนอย่างมากก่อนการซื้อ และ 7.ต้นทุนการซื้อและขายอาจสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น"





ด้าน ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส จำกัด และนักสะสมนาฬิกา-งานศิลปะ กล่าวว่า หากจะนับผลตอบแทนย้อนหลังแล้ว ในแง่ของการลงทุนถือได้ว่าราคาของศิลปะมีการขึ้นแรง ตนเองแนะนำลูกค้าหลายคนว่างานศิลปะเป็นอะไรที่น่าลงทุน เพราะทั้งโลกมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขนาดในช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง มีการเปลี่ยนมือในมูลค่าถึง 25-30 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี อาร์ตมาร์เก็ตจึงถือเป็นตลาดใหญ่ที่โตอย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนนี้ความนิยมของตลาดอาร์ตจะหันมาสนใจงานแนวคอนเทมโพรารี่อาร์ตของ ศิลปินจีนกันมาก


"ปัจจุบันในพอร์ตการลงทุนของคอ ลเล็กเตอร์ส่วนใหญ่จะมีทั้งสินค้าลักเซอรี่, เพนติ้ง, เพชรพลอย และสปอร์ตอินเวสต์เมนต์ ซึ่งในตลาดเอเชียพบว่ามีการลงทุนในตลาดอาร์ตถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นอะไรที่น่าลงทุนมาก เพราะจะประคองตัวดีในเวลาที่มีภาวะเงินเฟ้อสูง"


นอกจากตลาดศิลปะแล้ว ยามนี้ตลาดการลงทุนยังได้ตื่นตัวกับกองทุนไวน์ ซึ่งเป็นการลงทุนทางเลือกที่เกิดขึ้นหลายกองทุนในทั่วโลกและเมืองไทยเองก็มี เช่นกัน นายไพบูลย์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดการลงทุนในไวน์กับตลาดหุ้นไม่เหมือนกัน ตลาดไวน์มีรีเทิร์นดีมาก ที่ผ่านมาราคาในการลงทุนไวน์เพิ่ม 200 เปอร์เซ็นต์ในไวน์ 100 ตัวหลัก ซึ่ง 90 เปอร์เซ็นต์จะเป็นไวน์บอร์กโดซ์ ของฝรั่งเศส ในตลาดการลงทุนไวน์ 500 ตัว ขึ้นจาก 100 เป็น 200 กว่า ซึ่งตลาดนี้ 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นไวน์จากบอร์กโดซ์ ฝรั่งเศสเช่นกัน นี่เองทำให้ตลาดไวน์มีความน่าสนใจมาก"


"ในบลูชิพอินเด็กซ์ 5 ตัวแรก (ไม่เกิน 15 ปี) ราคาขึ้นจาก 100 เป็น 350 ซึ่งการลงทุนแบบนี้แม้จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ยากตรงที่จะต้องหาที่เก็บอย่างถูกวิธี และมีการรับรองที่ได้มาตรฐาน โดยวิธีการลงทุนจะต้องซื้อไวน์ยกเคสคือ 12 ขวดขึ้นไป ไม่เช่นนั้นจะเทรดไม่ได้ ราคาขึ้นลงได้เหมือนกัน แต่ถือว่าสนุกสนาน ตอนนี้จึงมีกองทุนไวน์เกิดขึ้นเยอะ เพราะมีเพอร์ฟอร์เมนต์ที่ดี อย่างใน The vintage wine fund ก็มีการลงทุนกันเยอะ โดยมีเงิน 4 ล้านบาทก็ซื้อได้แล้ว"



นายไพบูลย์ยังกล่าวอีกว่า "ตลาดการลงทุนทางเลือกมีหลายประเภทมาก ทั้งอาร์ต แสตมป์ นาฬิกา แต่พวกนี้ขนาดตลาดไม่ใหญ่ ขณะที่ไวน์กำลังเป็นตลาดที่มาแรง วิเคราะห์ง่าย ทำให้คนออกมาตั้ง fund กันเยอะในเมืองนอก แต่เมืองไทยคงต้องใช้ระยะเวลา"


ขณะที่ ดร.วัลลภกล่าวแสดงความคิดเห็นถึงการลงทุนในตลาดทางเลือกเหล่านี้ว่า การลงทุนในตลาดพวกนี้ต้องเข้าใจเหมือนกันว่า ราคาอาจมีการขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ ผู้ซื้อเองต้องมีวิธีการเลือก การวิเคราะห์ที่ดี อย่างตนเองตอนนี้ก็ลงทุนในไวน์ นาฬิกา พระ ฯลฯ เป็นการลงทุนในสิ่งที่เราชอบ และทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีด้วย


วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
เวลา 18:05:47 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

18 September 2010

อังค์ถัดเตือนทั่วโลก..ลดพึ่งส่งออก แนะแผนตั้งรับเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนปี"54


การ ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา - อังค์ถัด : The United Nations Conference on Trade and Development -UNCTAD" ที่มี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นเลขาธิการ ได้เปิดตัวรายงานการค้าและการพัฒนา ปี 2553 หัวข้อ "การจ้างงาน โลกาภิวัตน์ และการพัฒนา" (Overview : TRADE DEVELOPMENT REPORT 2010) โดย ได้ส่งสัญญาณให้ภาครัฐและเอกชนทุกประเทศทั่วโลกเตรียมตั้งรับสถานการณ์และหา ทางออกอย่างเหมาะสมในยุคที่ "เทรนด์เศรษฐกิจโลก" กำลังเติบโตอย่างเปราะบาง และหากยังเดิน ด้วยวิธีผิดจะส่งผลกระทบกับความยั่งยืนและเสถียรภาพของประเทศนั้น ๆ

เป็น สัญญาณเตือนจากอังค์ถัดที่ว่า อย่าได้เชื่อใจในความสำเร็จซึ่งเกิดจากการ "พึ่งพารายได้ส่งออก" มากนัก ให้หันมากระตุ้นภาคการผลิตภายในประเทศ เพิ่มความเข้มแข็งให้ได้มากที่สุด และหัวใจสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจปีนี้และปีต่อ ๆ ไป การวางยุทธศาสตร์ "ภาคแรงงาน" ให้สมดุล มีเสถียรภาพ ทั้งค่าจ้างแรงงาน การคัดสรรแรงงานย้ายถิ่นให้สอดคล้องกับผลิตภาพของแต่ละประเทศ

ดร.ศุภ ชัย พานิชภักดิ์ กล่าวในบทนำรายงานฉบับนี้ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่อาจคงอยู่อย่างยั่งยืนถ้าเกิดจากปัจจัยชั่วคราว เช่น วัฏจักรสินค้าคงคลัง (inventory cycle) และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังที่มากกว่าปกติ และถ้าปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นต้นตอของวิกฤต ได้แก่ ระบบการเงินไม่ได้ถูกกำกับดูแลอย่างเพียงพอ ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ และความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่

เพราะเมื่อประเทศใน "ยุโรป" เริ่มรักษา "วินัยทางการคลัง" ประกอบกับความพยายามของกลุ่ม G-20 ได้ล้มเหลวลงในการกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อตอบสนองวิกฤต อังค์ถัดเล็งเห็นว่าภาวะ "ถดถอยซ้ำซ้อน" หลังการฟื้นตัวในช่วงสั้น ๆ (double dip recession) หรืออาจเลวถึงขั้น "การถดถอยอย่างเรื้อรัง" (deflationary spiral) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

การ ที่ประเทศเริ่มหยุดใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อ "ลดภาระขาดดุลการคลัง" และ "เรียกความเชื่อมั่น" กลับมาในภาคการเงิน ทั้งที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นั้น หมายความว่า ประเทศเหล่านี้จะต้อง "พึ่งพิงการส่งออก" เพื่อให้เศรษฐกิจ กลับมาเติบโต

คือการทำตัว เป็นผู้ได้ประโยชน์โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงมือแก้ปัญหา หรือ "Free rider" โดยผลักภาระการกระตุ้นในอุปสงค์ให้กับประเทศคู่ค้าและโอนย้ายปัญหา "การว่างงาน" ให้แก่ประเทศอื่น ๆ ในโลก

เพราะปรากฏการณ์ความจริงที่ ว่าแต่ละประเทศไม่สามารถพึ่งพิงการส่งออกได้พร้อม ๆ กัน จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้ว "อุปสงค์" ในการนำเข้าจะมาจากที่ใด

ปัจจัย เหล่านี้จะเป็นแรงผลักให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างไม่ยั่งยืน ทุกประเทศควรหันมาให้ความสนใจตัวแปรแท้จริงที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูโครงสร้าง เศรษฐกิจในประเทศร่วมกับนานาชาติอย่างยั่งยืน

อังค์ถัดได้เสนอกฎไว้ ในรายงานว่า "รัฐบาลควรจะยกเลิก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต่อเมื่ออุปสงค์ภายในประเทศได้ฟื้นตัว เต็มที่แล้วเท่านั้น

รายงานยังระบุด้วยว่า ทันทีที่กลุ่มประเทศ "ยุโรป" หันมาให้ความสำคัญและเริ่มรักษาวินัยการคลัง ในช่วงที่ความร่วมมือของประเทศในกลุ่ม G-20 กำลังเผชิญปัญหา กลุ่มประเทศยุโรปอาจกลายเป็นผู้ได้ประโยชน์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงมือ แก้ปัญหาก็เป็นได้ จากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอื่น อย่างสหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องชี้ให้เห็นเกี่ยวกับ "ความตกลงร่วมกัน" เพื่อกอดคอกันดำเนินนโยบายเพื่อตอบโต้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง

ผล พวงจากเหตุการณ์กลางปี 2552 ช่วงที่ทั่วโลกเริ่มฟื้นจากวิกฤตทั้ง 2 ขา คือเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งกล่าวกันว่า ถูกกระทบรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ค.ศ.1930) เป็นต้นมา

พอมาถึงตอนนี้ "ประเทศกำลังพัฒนา" เป็นผู้นำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สวนทางกับ "ประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว" เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบอ่อนแรงและมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความ "ไม่สมดุล" ทางการค้าและบัญชีเดินสะพัดของโลก สภาพเช่นนี้คล้ายคลึงกับปัญหาก่อนที่ทั่วโลกจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น

ดัง นั้นประเทศพัฒนาแล้วจึงค่อย ๆ หยุดใช้มาตรการด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ปัญหาในเชิงระบบยังคงอยู่ เช่น ปัญหาการกำกับดูแลภาคการเงินที่ไม่เพียงพอ ปัญหาความไม่สมดุลในบัญชีเดินสะพัดของโลก

ปี 2554 อังค์ถัดประเมินว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศอาจตกต่ำลงอีกครั้งก็เป็นได้ ชนวนสำคัญที่ต้องจับตาคือ "ความล้มเหลว" ในการกำหนดนโยบายร่วมกันของกลุ่มประเทศ G-20 สะท้อนให้เห็นความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาไม่สมดุลขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน

รวมทั้งยังมี "ความเสี่ยง" ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดอย่างรวดเร็วเกินไป และอันตรายจากการเกิดเศรษฐกิจถดถอยรอบ 2 (second dip recession) หลังจาก ปี 2552 เศรษฐกิจโลกหดตัวลง 2% ลดครั้งแรกนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา แต่อังค์ถัดได้ประเมินจีดีพีโลกจะเติบโตขึ้นในปี 2553 เฉลี่ย 3.5% สอดคล้องกับ "มูลค่าการค้าโลก" เริ่มขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ครึ่งปีหลัง 2552 ฟื้นจากสภาพเดิมครึ่งปีแรก ดิ่งลงถึง 23% ประกอบกับ การฟื้นตัวของ "ราคาสินค้าโภคภัณฑ์" เป็นแรงกระตุ้น "รายได้ประชาชาติ" และ "รายรับการคลัง" ของประเทศเพิ่มมากขึ้น

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก "อุปสงค์" ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับ "ความเสี่ยง" ที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุนในตราสารการเงินต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามปี 2553 อังค์ถัดประเมินการเติบโตของแต่ละภูมิภาคไว้ดังนี้ "แอฟริกา" ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตมากนัก จะเติบโต 5-6% "ประเทศพัฒนาแล้ว" และ "ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่" เน้นอัดฉีดเงินช่วยเหลือเพื่อป้องกันระบบการเงินล้ม ผนวกการดำเนินนโยบายการเงินการคลังผ่อนคลายลงเพื่อชดเชยอุปสงค์ลดลงจากภาค เอกชนซึ่งเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และ 4 ปี 2552 ส่วน "สหรัฐอเมริกา" อุปสงค์ในประเทศเติบโตมากกว่าประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเยอรมนี และญี่ปุ่น อันหมายความถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศเหล่านี้ต้องพึ่ง พาการส่งออกอย่างมาก แถมในช่วง ไม่กี่เดือนมานี้ยังมีปัญหาหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตช้าแปลงสภาพเป็น "ศูนย์กลางวิกฤตการเงินโลก" ในปัจจุบัน

ดร.ศุภชัยอธิบายเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ฟื้นตัวของ เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามยังมีอีกหลายประเทศกลับต้องเผชิญปัญหา "อัตราการว่างงาน" สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ดังนั้นการดำเนินโยบายการคลังแบบ "ผ่อนคลาย" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจ "ถดถอยซ้ำซ้อน" และปัญหา "การว่างงาน" เลวร้ายลง

นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในฐานะองค์กรที่อยู่ภายใต้อังค์ถัด ได้นำรายงานฉบับนี้เสนอในเมืองไทย โดยให้คณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อิสระ ร่วมแสดงความเห็น เพื่อนำสัญญาณทางเศรษฐกิจไปปรับใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ เกิดประโยชน์กับประเทศต่อไป ทั้งการวางยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน ค่าจ้าง การผลิต การบริหารจัดการอุปสงค์ และอื่น ๆ



วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4245 ประชาชาติธุรกิจ

ศก.ฟื้น! พาณิชย์เผยยอดตั้งธุรกิจใหม่ส.ค.เพิ่ม 18% ขณะที่ยอดเลิกทำธุรกิจลด5%

นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคม 2553 มียอดจดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 4,447 ราย เพิ่มขึ้น 16% หรือ 622 ราย จากเดือนกรกฎาคม 2553 และเพิ่มขึ้น 18% หรือ 685 ราย เทียบเดือนสิงหาคม 2552 มีทุนจดทะเบียน 17,530 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคมที่ผ่านมา 73% และเพิ่ม 35% เทียบสิงหาคม 2552 ธุรกิจที่ตั้งใหม่สูงสุดคือ บริการนันทนาการ 546 ราย ก่อสร้าง 413 ราย อสังหาริมทรัพย์ 191 ราย ส่วนธุรกิจทุนจดทะเบียนสูงสุดคือ ผลิตเครื่องยนต์และเครื่องกังหัน มูลค่า 3,114 ล้านบาท ส่วนการเพิ่มทุนจำนวน 880 ราย สูงขึ้นจากสิงหาคมปีก่อน 18% แต่สูงจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แค่ 1%





ส่วนการเลิกธุรกิจมีจำนวน 1,182 ราย ลดลง 4% หรือ 62 ราย จากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และลดลง 5% หรือ 65 รายเทียบเดือนสิงหาคม 2552 รวมทุนจดทะเบียน 6,926 ล้านบาท กิจการที่เลิกมากสุดคือ ก่อสร้าง 144 ราย อสังหาริมทรัพย์ 70 ราย ทำให้ปัจจุบันมีธุรกิจคงเหลือทั่วประเทศ 652,283 ราย





"การเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะนี้ไม่น่าจะเป็นแรงกดดันต่อการจัดตั้ง บริษัทหรือเลิกกิจการเหมือนการเกิดความรุนแรงทางการเมืองในเดือนเมษายนที่ ผ่านมา ซึ่งดูได้จากการฟื้นตัวของยอดจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการเลิก กิจการที่มีลดลง"



วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:27:23 น. มติชนออนไลน์

"ไอเอ็มเอฟ" เผย ไทยแห่ซื้อทองเดือน กค. ดันการถือครองพุ่งกว่า 3 ล้านออนซ์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ไทยได้เพิ่มการถือครองทองคำผ่านทางการซื้อทองในตลาดเปิด สู่ระดับ 3.2 ล้านออนซ์ ในเดือนกค. จาก 2.7 ล้านออนซ์ ในเดือนมิ.ย.


ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวได้มีการเปิดเผยอยู่ในรายงานสถิติทางการเงิน ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับแต่ละประเทศที่ไอเอ็มเอฟทำการเผยแพร่เมื่อวานนี้


ส่วนประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา และบังคลาเทศ ก็ได้เพิ่มการถือครองทองคำนับตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีการซื้อทองจากไอเอ็มเอฟราว 403.3 ตัน ขณะที่ไอเอ็มเอฟนำรายได้จากการขายทองดังกล่าวไปเพิ่มการปล่อยกู้ให้แก่ ประเทศต่างๆ


ไอเอ็มเอฟได้ขายทองรวม 71.4 ตัน ในตลาดเปิดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. ภายใต้โครงการการขายทองของไอเอ็มเอฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนซึ่งมีการประกาศในเดือนกพ. ในการเริ่มทยอยขายทองจำนวน 191.3 ตัน ในปีนี้


ไอเอ็มเอฟเริ่มโครงการดังกล่าว ด้วยการเสนอขายทองให้แก่ธนาคารกลางต่างๆในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบริโภคทองมากที่สุดในโลก ได้ซื้อทอง 200 ตัน จากไอเอ็มเอฟ


ราคาทองพุ่งแตะ 1,282.75 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อออนซ์เมื่อวานนี้ (17 กย.) โดยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในสัปดาห์นี้ จากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด ในการประชุมในการกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 21 กย. เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะถดถอยซ้ำซ้อน ซึ่งการใช้นโยบายดังกล่าวมักเป็นปัจจัยหนุนราคาทองให้ดีดตัวขึ้น


นายจอร์จ โซรอส นักลงทุนระดับอภิมหาเศรษฐี ฉายา "พ่อมดการเงิน" กล่าวว่า ราคาทองอาจดีดตัวขึ้นต่อไป หลังจากที่พุ่งแตะระดับสูงสุดในสัปดาห์นี้ แต่เขาก็เตือนอีกครั้งว่า ทองเป็นสินทรัพย์ที่จะเผชิญภาวะฟองสบู่ในท้ายที่สุด ซึ่งหมายความว่าราคาทองอาจดีดตัวขึ้นอีก แต่ไม่มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน และจะไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ตลอดไป

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:14:58 น. มติชนออนไลน์

16 September 2010

กมธ.ป้องกันฯข้องใจงบฯก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแพงเกินจริง

นาย ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิ ชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันฯ วันที่ 16 กันยายน ประชุมได้พิจารณางบประมาณโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วง หัวลำโพง-บางแค และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ โดยสำนักงบประมาณแจ้งว่า เคยทักท้วงครม.ไปแล้วว่า ขอให้ทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา เพราะราคากลางในการก่อสร้างจำนวน 5.2 หมื่นล้านบาทที่คณะกรรมการกำหนดราคากำหนดนั้นสูงเกินไปกว่าความจำเป็นถึง 2 พันล้านบาท


โดยราคาที่ควรจะเป็นจะต้องอยู่ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกมธ.เคยเชิญตัวแทนของคณะกรรมการกำหนดราคากลางมาชี้แจงแล้ว แต่คณะกรรมการฯชี้แจงไม่ได้ เพียงแต่บอกว่าเป็นการกำหนดมาจากผู้บังคับบัญชา ดังนั้น กมธ.จึงได้ประสานขอแบบการก่อสร้างทั้งระบบเพื่อมาดูว่าเป็นการกำหนด ราคากลางแพงเกินจริงหรือไม่เพราะในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงก็ยังสามารถ ปรับลดราคาลงมาได้ถึง 16 เปอร์เซ็นต์


"ที่สำคัญที่สุดการก่อสร้างในสายสีน้ำเงินเป็นลักษณะของการให้ผู้รับ เหมาทั้ง 5 ราย แบ่งไปทำคนละสัญญา รวมไปถึงการดำเนินการก่อสร้างก็เป็นลักษณะของการออกแบบไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง ซึ่งเป็นประเด็นที่กมธ.สงสัยว่าเป็นการเปิดช่องว่างให้เกิดความ ไม่โปร่งใสในการดำเนินการก่อสร้างหรือไม่"


วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:38:31 น. มติชนออนไลน์

"บาทปรับตัวผันผวน"

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2553 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.85/87 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ (15/9) ที่ 30.85/89 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ค่าเงินบาทมีการปรับตัวที่ค่อนข้างผันผวนตลอดทั้งวัน โดยในช่วงเช้าปรับตัวอ่อนค่าลงไปอย่างมาก เนื่องจากยังมีการคาดการณ์จากนักลงทุนในตลาดว่าจะมีการออกมาตรการใดๆ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อสกัดการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ในช่วงบ่ายทาง ธปท.ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายดูแลอัตราแลกเปลี่ยนตามที่ตลาดกังวล พร้อมระบุว่า เงินบาทควรเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาด ซึ่งเป็นการตอกย้ำคำพูดที่นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.ระบุไว้วานนี้ว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดูแลค่าเงินบาทที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้ในช่วงบ่ายค่าเงินบาทมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอย่างมากอีกครั้ง ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทมีการปรับตัวอยู่ในกรอบของ 30.79-30.94 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะปิดไปที่ระดับ 30.78/80 บาท/ดอลลาร์


อนึ่ง ตลาดจะรอดูการแถลงของนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในเวลา 21.00 น. ตามเวลาไทยวันนี้

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินเยนเปิดตลาดที่ระดับ 85.55/65 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเล้กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (15/9) ที่ 85.35/40 เยน/ดอลลาร์ ทั้งนี้ค่าเงินเยนยังเผชิญกับแรงกดดัน และยังคงปรับตัวอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากตลาดมีการคาดการณ์ว่าทางการญี่ปุ่นพร้อมที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินเย นเพิ่มเติม ทั้งนี้ในการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนวานนี้ ทางการญี่ปุ่นได้เทขายเยนราว 2 ล้านล้านเยน (2.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นการขายเยนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ภายในวันเดียว โดยนักลงทุนมองว่าการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของ ทางการญี่ปุ่นในการจำกัดการแข็งค่าของเยน ขณะที่การแทรกแซงตลาดเมื่อวานนี้ส่งผลให้ดอลลาร์/เยนพุ่งขึ้นกว่า 3% ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 85.23-85.76 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะปิดตลาดไปที่ระดับ 85.66/69 เยน/ดอลลาร์


ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินยูโรเปิดตลาดมาที่ 1.2990/1.3000 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 1.2975/80 ดอลลาร์/ยุโรอีกครั้งหนึ่ง ค่าเงินยูโรมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอย่างมาก โดยวันนี้ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาทดสอบระดับ 1.3000 ดอลลาร์/ยูโรอีกครั้ง โดยระหว่างวันค่าเงินยุโรซื้อขายอยู่ในกรอบ 1.2977-1.3088 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ 1.3078/82 ดอลลาร์/ยูโร


อัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +1.80/+2.20 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +2.00/+3.00 สตางค์/ดอลลาร์


วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 18:16:30 น. มติชนออนไลน์


15 September 2010

ผู้ว่าธปท.ออกโรงสยบข่าวลือ ยันไม่ออกมาตรการพิเศษคุมเงินทุนไหลเข้า

นาง ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาได้เรียกผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็ม อี)เข้าหารือถึงประเด็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจว่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือ เอสเอ็มอีหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการที่ต้องการทำป้องกันความเสี่ยงอัตราแลก เปลี่ยนแต่ขาดสภาพคล่อง ตามเกณฑ์แล้วจะต้องวางเงินมัดจำส่วนหนึ่งไว้หากต้องทำป้องความเสี่ยงอัตรา แลกเปลี่ยน โดยธปท.จะนำเรื่องนี้หารือร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศ ไทย(เอ็กซ์ซิมแบงก์)ว่าควรจะเข้าไปช่วยเหลือในกรณีนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตามในแง่ของความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาออกมาตรการพิเศษเพื่อควบคุม เงินทุนไหลเข้าหรือไม่ ธปท.กำลังติดตามสถานการณ์อยู่

นางธาริษา กล่าวว่า สาเหตุที่มีข่าวลือว่าธปท.จะออกมาตรการพิเศษเพื่อควบคุมเงินทุนไหลเข้าคาด ว่ามาจากตลาดคาดเดาผิดพลาดในเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)นัด พิเศษเมื่อวันที่10 กันยายนที่ผ่านมา โดยในข้อเท็จจริง คือ การประชุมดังกล่าวเป็นการหารือเพื่อสรุปสถานการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราแลก เปลี่ยนในปัจจุบัน โดยที่ประชุมต่างเห็นด้วยกับแนวทางการดำเนินนโยบายการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนใน ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ก็แปลกใจที่ตลาดตื่นตัวกับกระแสข่าวลือทำให้กันไปใหญ่

“ค่าเงินบาทที่ปรับแข็งค่าเร็วในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลมาจากปัจจัยจากต่าง ประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจไทยและประเทศในภูมิภาคค่อนข้างแข็งแกร่ง ส่งผลให้มีเงินทุนไหเข้ามาในตลาดในภูมิภาคจำนวนมาก ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีปัญหาคงวามวุ่นวายทางกรเมืองในช่วงต้นปีทำให้การ เคลื่อนของค่าเงินในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีแข็งค่าเร็ว”

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:26:27 น. มติชนออนไลน์

กสิกรฯยกเลิกโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งโดยตรง หวั่นลูกค้าถูกโจรกรรม

กสิกร ยกเลิกโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งโดยตรงหวั่นลูกค้าถูกโจรกรรม เตรียมเพิ่มความเข้มงวดระบบOTPให้ซับซ้อนกว่าเดิม เผยช่วงเกิดเหตุลูกค้าห่วงเรื่องความปลอดภัย ยกเลิกการใช้งานกว่า100ราย

นาย อาจ วิเชียรเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งถูกมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลเมื่อ ประมาณ 1- 2 เดือนที่ผ่านมานั้นส่งผลให้ธนาคารได้ตัดสินใจยกเลิกระบบโอนเงินให้บุคคลที่ 3 ผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งได้โดยตรงไปแล้ว โดยก่อนหน้านี้ลูกค้าสามารถสั่งโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้ 2 วิธีคือ การเพิ่มบัญชีของบุคคลที่ 3 เข้าไปในระบบก่อนทำการโอนเงิน ซึ่งต้องมีการยืนยันตัวตนผ่าน รหัสผ่านครั้งเดียวทางโทรศัพท์มือถือ(one time password)และรหัสยืนยันผ่านอีเมลล์อีกครั้งก่อนซึ่งจะมีหลายขั้นตอน และวิธีที่ 2 คือการโอนเงินโดยตรงผ่านการกรอกเลขที่บัญชีโดยตรง ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรม


“วิธี นี้การโอนเงินโดยกรอกเลขที่บัญชีผู้รับเลยเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย ซึ่งถือว่าลูกค้ามีความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมข้อมูลได้ง่ายธนาคารจึงตัดสิน ใจยกเลิกไปก่อน จนกว่าจะสามารถหาทางป้องกันได้ปลอดภัยมาขึ้นถึงจะพิจารณาว่าจะนำกลับมาใหม่ หรือไม่ ซึ่งต่อไปนี้ลูกค้าที่จะโอนเงินจากอินเตอร์เน็ตจะเหลือวิธีเดียวคือต้อง เพิ่มบัญชีบุคคลที่ 3 ก่อน ถึงจะสามารถโอนเงินได้ซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่า อย่างไรก็ตามในปลายปีนี้ธนาคารจะเพิ่มความปลอดภัยของระบบ One time passwordให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาว่าจะใช้วิธีไหน ซึ่งกำลังให้แบงก์ชาติพิจารณาก่อน”นายอาจกล่าว


นาย อาจกล่าวต่ออีกว่า สำหรับผลกระทบจากเรื่องมิจฉาชีพที่โจรกรรมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตนั้นก็มี ลูกค้าของธนาคารจำนวนหนึ่งยกเลิกการใช้งานเพราะกลัวเรื่องความปลอดภัยไป ประมาณ 100 ราย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดเรื่องแรกๆแต่ขณะนี้เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ปัจจุบันปริมาณธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งยังมีสัดส่วนการเติบ โตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเดือนส.ค.ที่ผ่านมายอดธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งโดยเฉพาะธุรกรรม โอนเงินและชำระค่าบริการ เติบโต 80 % จากปีก่อน โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 9 แสนราย ซึ่งมีจำนวนบัญชีที่ใช้งานจริงประมาณ 20 % และคาดว่าปลายปีนี้จะจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 1ล้านราย อย่างไรก็ตามการที่ธนาคารเปิดให้สามารถสมัครการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ผ่านทางตู้เอทีเอ็มเป็นส่วนช่วยให้ปริมาณเพิ่มขึ้นด้วย


“ส่วน การใช้งานธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือสามารถเติบโตได้ดี โดยมีจำนวนลูกค้าประมาณ 1.5 ล้านรายแล้วและคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านราย ซึ่งแนวโน้มของการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรมยังมีการเติบโตต่อ เนื่อง เพราะเป็นช่องทางที่สะดวกมาก ตอนนี้ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ในเรื่องนี้ด้วย”นายอาจกล่าว

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 17:22:42 น. มติชนออนไลน์

เตือนส่งออกรับมือ คาด"บาทแข็ง"อาจลากยาวถึง 2 ปี เหตุ"ทุนนอก"แห่ไหลเข้าเอเชียต่อเนื่อง



เวทีสัมมนา"รุ่งหรือร่วง เศรษฐกิจไทยปี’54 "ณรงค์ชัย อัครเศรณี" เตือนปัจจัยเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนรุนแรง เชื่อธปท.ไม่นำมาตรการกันสำรอง 30% ออกมาใช้ ด้าน"ศุภวุฒิ สายเชื้อ"เห็นต่างคาดต้องออกมาตการสกัด ชี้ทุนนอกยังแห่ไหลเข้าเอเชียต่อเนื่อง ดันบาทแข็งลากยาวถึง2ปี


เมื่อวันที่ 14 กันยายน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2554 ในงานสัมมนาเรื่อง "รุ่งหรือร่วง เศรษฐกิจไทยปี’54" ว่า ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2554จะเติบโตประมาณ 4-5% จากปี 2553 ที่คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 7% แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้าย เงินทุน จะมีความผันผวนรุนแรงมาก
นายณรงค์ชัยกล่าวว่า แม้เงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้น แต่เชื่อว่าคงไม่มีการนำมาตรการกันสำรอง 30% ออกมาใช้แน่นอน เพราะไม่ได้ส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเห็นว่าจะต้องมีการเปลี่ยนนโยบายการบริหารเงินตรา ต่างประเทศ โดยเปิดให้รัฐวิสาหกิจลงทุนต่างประเทศได้ รวมถึงนำเงินสำรองบางส่วนออกมาใช้ ด้านแนวโน้มเงินบาทนั้นคาดว่ายังแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะอยู่ในระดับเท่าใด
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธปท.คงต้องมีมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ เพราะมีแนวโน้มว่าเงินทุนจะไหลเข้าเอเชียรวมทั้งไทยต่อเนื่องถึง 2 ปี เพราะทางธนาคารกลางสหรัฐและยุโรปมีนโยบายชัดเจนจะลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ ใกล้ระดับ 0% เป็นเวลาถึง 2 ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะทำให้เงินทุนไหลเข้าในเอเชียที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ทำให้ค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าขึ้นรวดเร็ว และต่อเนื่องยาวนานตามไปด้วย
"เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอาจทำให้ไทยขาดดุลการค้า จากปัจจุบันที่เกินดุลการค้า เพราะเริ่มส่งออกได้น้อยลงจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น รวมทั้งทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2554 ลดความร้อนแรงหรือเติบโตน้อยลงไปด้วย"
นายศุภวุฒิกล่าวว่า ธปท.คงไม่สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วเพื่อรับกับเศรษฐกิจที่โตขึ้น หากไม่ทำอะไรจะทำให้คุมเงินเฟ้อไม่อยู่ เป็นผลเสียในระยะยาวที่จะเสี่ยงต่อการเกิดฟองสบู่จากภาวะเศรษฐกิจร้อนแรง ดังนั้นจึงต้องมาดูเรื่องค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นเร็วเกินไป เพื่อช่วยให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิย์รายงานการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทวันที่ 14 กันยายน ว่า เปิดตลาดที่ระดับ 30.75-30.77 บาทต่อดอลลาร์ ใกล้เคียงกับอัตราปิดตลาดวันก่อนหน้า ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ และมีการซื้อขายเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนรอดูท่าทีรัฐบาลว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาดูแลค่าเงิน โดยค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.77-30.79 บาทต่อดอลลาร์

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:15:43 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



Sponsor