18 September 2010

อังค์ถัดเตือนทั่วโลก..ลดพึ่งส่งออก แนะแผนตั้งรับเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนปี"54


การ ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา - อังค์ถัด : The United Nations Conference on Trade and Development -UNCTAD" ที่มี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นเลขาธิการ ได้เปิดตัวรายงานการค้าและการพัฒนา ปี 2553 หัวข้อ "การจ้างงาน โลกาภิวัตน์ และการพัฒนา" (Overview : TRADE DEVELOPMENT REPORT 2010) โดย ได้ส่งสัญญาณให้ภาครัฐและเอกชนทุกประเทศทั่วโลกเตรียมตั้งรับสถานการณ์และหา ทางออกอย่างเหมาะสมในยุคที่ "เทรนด์เศรษฐกิจโลก" กำลังเติบโตอย่างเปราะบาง และหากยังเดิน ด้วยวิธีผิดจะส่งผลกระทบกับความยั่งยืนและเสถียรภาพของประเทศนั้น ๆ

เป็น สัญญาณเตือนจากอังค์ถัดที่ว่า อย่าได้เชื่อใจในความสำเร็จซึ่งเกิดจากการ "พึ่งพารายได้ส่งออก" มากนัก ให้หันมากระตุ้นภาคการผลิตภายในประเทศ เพิ่มความเข้มแข็งให้ได้มากที่สุด และหัวใจสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทิศทางเศรษฐกิจปีนี้และปีต่อ ๆ ไป การวางยุทธศาสตร์ "ภาคแรงงาน" ให้สมดุล มีเสถียรภาพ ทั้งค่าจ้างแรงงาน การคัดสรรแรงงานย้ายถิ่นให้สอดคล้องกับผลิตภาพของแต่ละประเทศ

ดร.ศุภ ชัย พานิชภักดิ์ กล่าวในบทนำรายงานฉบับนี้ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่อาจคงอยู่อย่างยั่งยืนถ้าเกิดจากปัจจัยชั่วคราว เช่น วัฏจักรสินค้าคงคลัง (inventory cycle) และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังที่มากกว่าปกติ และถ้าปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นต้นตอของวิกฤต ได้แก่ ระบบการเงินไม่ได้ถูกกำกับดูแลอย่างเพียงพอ ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ และความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่

เพราะเมื่อประเทศใน "ยุโรป" เริ่มรักษา "วินัยทางการคลัง" ประกอบกับความพยายามของกลุ่ม G-20 ได้ล้มเหลวลงในการกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อตอบสนองวิกฤต อังค์ถัดเล็งเห็นว่าภาวะ "ถดถอยซ้ำซ้อน" หลังการฟื้นตัวในช่วงสั้น ๆ (double dip recession) หรืออาจเลวถึงขั้น "การถดถอยอย่างเรื้อรัง" (deflationary spiral) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

การ ที่ประเทศเริ่มหยุดใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อ "ลดภาระขาดดุลการคลัง" และ "เรียกความเชื่อมั่น" กลับมาในภาคการเงิน ทั้งที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นั้น หมายความว่า ประเทศเหล่านี้จะต้อง "พึ่งพิงการส่งออก" เพื่อให้เศรษฐกิจ กลับมาเติบโต

คือการทำตัว เป็นผู้ได้ประโยชน์โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงมือแก้ปัญหา หรือ "Free rider" โดยผลักภาระการกระตุ้นในอุปสงค์ให้กับประเทศคู่ค้าและโอนย้ายปัญหา "การว่างงาน" ให้แก่ประเทศอื่น ๆ ในโลก

เพราะปรากฏการณ์ความจริงที่ ว่าแต่ละประเทศไม่สามารถพึ่งพิงการส่งออกได้พร้อม ๆ กัน จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้ว "อุปสงค์" ในการนำเข้าจะมาจากที่ใด

ปัจจัย เหล่านี้จะเป็นแรงผลักให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างไม่ยั่งยืน ทุกประเทศควรหันมาให้ความสนใจตัวแปรแท้จริงที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูโครงสร้าง เศรษฐกิจในประเทศร่วมกับนานาชาติอย่างยั่งยืน

อังค์ถัดได้เสนอกฎไว้ ในรายงานว่า "รัฐบาลควรจะยกเลิก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต่อเมื่ออุปสงค์ภายในประเทศได้ฟื้นตัว เต็มที่แล้วเท่านั้น

รายงานยังระบุด้วยว่า ทันทีที่กลุ่มประเทศ "ยุโรป" หันมาให้ความสำคัญและเริ่มรักษาวินัยการคลัง ในช่วงที่ความร่วมมือของประเทศในกลุ่ม G-20 กำลังเผชิญปัญหา กลุ่มประเทศยุโรปอาจกลายเป็นผู้ได้ประโยชน์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงมือ แก้ปัญหาก็เป็นได้ จากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอื่น อย่างสหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องชี้ให้เห็นเกี่ยวกับ "ความตกลงร่วมกัน" เพื่อกอดคอกันดำเนินนโยบายเพื่อตอบโต้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง

ผล พวงจากเหตุการณ์กลางปี 2552 ช่วงที่ทั่วโลกเริ่มฟื้นจากวิกฤตทั้ง 2 ขา คือเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งกล่าวกันว่า ถูกกระทบรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ค.ศ.1930) เป็นต้นมา

พอมาถึงตอนนี้ "ประเทศกำลังพัฒนา" เป็นผู้นำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สวนทางกับ "ประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว" เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบอ่อนแรงและมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความ "ไม่สมดุล" ทางการค้าและบัญชีเดินสะพัดของโลก สภาพเช่นนี้คล้ายคลึงกับปัญหาก่อนที่ทั่วโลกจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น

ดัง นั้นประเทศพัฒนาแล้วจึงค่อย ๆ หยุดใช้มาตรการด้านการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ปัญหาในเชิงระบบยังคงอยู่ เช่น ปัญหาการกำกับดูแลภาคการเงินที่ไม่เพียงพอ ปัญหาความไม่สมดุลในบัญชีเดินสะพัดของโลก

ปี 2554 อังค์ถัดประเมินว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศอาจตกต่ำลงอีกครั้งก็เป็นได้ ชนวนสำคัญที่ต้องจับตาคือ "ความล้มเหลว" ในการกำหนดนโยบายร่วมกันของกลุ่มประเทศ G-20 สะท้อนให้เห็นความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาไม่สมดุลขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน

รวมทั้งยังมี "ความเสี่ยง" ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดอย่างรวดเร็วเกินไป และอันตรายจากการเกิดเศรษฐกิจถดถอยรอบ 2 (second dip recession) หลังจาก ปี 2552 เศรษฐกิจโลกหดตัวลง 2% ลดครั้งแรกนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา แต่อังค์ถัดได้ประเมินจีดีพีโลกจะเติบโตขึ้นในปี 2553 เฉลี่ย 3.5% สอดคล้องกับ "มูลค่าการค้าโลก" เริ่มขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ครึ่งปีหลัง 2552 ฟื้นจากสภาพเดิมครึ่งปีแรก ดิ่งลงถึง 23% ประกอบกับ การฟื้นตัวของ "ราคาสินค้าโภคภัณฑ์" เป็นแรงกระตุ้น "รายได้ประชาชาติ" และ "รายรับการคลัง" ของประเทศเพิ่มมากขึ้น

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก "อุปสงค์" ในประเทศอุตสาหกรรมใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับ "ความเสี่ยง" ที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุนในตราสารการเงินต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามปี 2553 อังค์ถัดประเมินการเติบโตของแต่ละภูมิภาคไว้ดังนี้ "แอฟริกา" ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตมากนัก จะเติบโต 5-6% "ประเทศพัฒนาแล้ว" และ "ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่" เน้นอัดฉีดเงินช่วยเหลือเพื่อป้องกันระบบการเงินล้ม ผนวกการดำเนินนโยบายการเงินการคลังผ่อนคลายลงเพื่อชดเชยอุปสงค์ลดลงจากภาค เอกชนซึ่งเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และ 4 ปี 2552 ส่วน "สหรัฐอเมริกา" อุปสงค์ในประเทศเติบโตมากกว่าประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเยอรมนี และญี่ปุ่น อันหมายความถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศเหล่านี้ต้องพึ่ง พาการส่งออกอย่างมาก แถมในช่วง ไม่กี่เดือนมานี้ยังมีปัญหาหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตช้าแปลงสภาพเป็น "ศูนย์กลางวิกฤตการเงินโลก" ในปัจจุบัน

ดร.ศุภชัยอธิบายเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ฟื้นตัวของ เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามยังมีอีกหลายประเทศกลับต้องเผชิญปัญหา "อัตราการว่างงาน" สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ดังนั้นการดำเนินโยบายการคลังแบบ "ผ่อนคลาย" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจ "ถดถอยซ้ำซ้อน" และปัญหา "การว่างงาน" เลวร้ายลง

นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในฐานะองค์กรที่อยู่ภายใต้อังค์ถัด ได้นำรายงานฉบับนี้เสนอในเมืองไทย โดยให้คณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อิสระ ร่วมแสดงความเห็น เพื่อนำสัญญาณทางเศรษฐกิจไปปรับใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ เกิดประโยชน์กับประเทศต่อไป ทั้งการวางยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน ค่าจ้าง การผลิต การบริหารจัดการอุปสงค์ และอื่น ๆ



วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4245 ประชาชาติธุรกิจ

Sponsor