09 February 2011

ความมั่นใจใน Gold Fund

คอลัมน์ คุยทุกเรื่องตลาดลงทุนกับ ก.ล.ต.

โดย สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. email : info@sec.or.th

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4287 ประชาชาติธุรกิจ


กระแส การลงทุนในทองคำไม่เคยตกเลยใช่ไหมครับ แม้แต่ผู้ที่ไม่เคยซื้อทองคำยังทราบเลยว่า ตอนนี้ราคาทองคำทะยานมาอยู่แถว 20,000 บาทต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทมาพักหนึ่งแล้ว

จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ต่างทยอยออก "กองทุนรวมทองคำ" หรือ gold fund มาให้ผู้ลงทุนเลือกลงทุนกันมาก

จากกระแส ดังกล่าว ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนในทองคำสอบถามเข้ามายัง ก.ล.ต.ว่า การลงทุนใน gold fund ให้ความมั่นใจได้เหมือนกับการลงทุนในทองคำแท่งหรือไม่ ? ในวันนี้ ก.ล.ต.จึงมาคุยถึง gold fund ซึ่งน่าจะช่วยตอบคำถามข้างต้นได้ครับ

ด้วย ก.ล.ต.มีภารกิจในการพัฒนาสินค้าในตลาดทุนให้มีความหลากหลาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ราคาทองคำมักมีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาตราสารอื่น เช่น หุ้น อัตราดอกเบี้ย ดังนั้นการลงทุนในทองคำ พร้อม ๆ กับตราสาร อื่นๆ ในพอร์ตการลงทุน จะเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีอีกทางหนึ่ง

ก.ล.ต. จึงได้พัฒนาทางเลือกการลงทุนในทองคำ หรืออ้างอิงราคาทองคำออกมาหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงกองทุนรวมทองคำ (gold fund) ที่เป็นกองทุนรวมที่อ้างอิงกับราคาทองคำปัจจุบัน หรือ spot rate จึงทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ไม่แตกต่างจากการลงทุนในทองคำโดย ตรง และซื้อขายได้สะดวก ไม่ต้องมีภาระในการขนย้ายและเก็บรักษาทองคำครับ

โดย รูปแบบของ gold fund มีทั้งที่ซื้อขายกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนและตัวแทนขายหน่วยลงทุน และที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เรียกว่ากองทุนรวม อีทีเอฟ ทองคำ

ผู้ลงทุนใน gold fund สามารถมั่นใจในการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวได้ ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

ประการ ที่หนึ่ง ผู้ออก gold fund ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน หรือ บลจ. ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนจาก ก.ล.ต. ซึ่งในการให้ใบอนุญาต ก.ล.ต.จะพิจารณาความพร้อมทั้งด้านระบบงานและบุคลากรในการบริหารจัดการกองทุน รวม รวมถึงความมั่นคงด้านฐานะการเงินด้วยครับ รวมถึงในการซื้อขาย ผู้ลงทุนต้องทำรายการกับ บลจ. หรือตัวแทนขายหน่วยลงทุนที่มีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.เท่านั้น

ประการที่สอง gold fund ต้องลงทุนในทองคำแท่งที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมผู้ค้าทองคำ ในไทย หรือระดับสากล โดยต้องเป็นหน่วยงานอิสระ

ตัวอย่างหน่วยงานในไทย ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ส่วนในระดับสากล ได้แก่ The London Bullion Market Association (LMBA) เป็นต้น และมีการกำหนดราคาของทองคำแท่งที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและมีการเปิด เผยอย่างแพร่หลายต่อสาธารณะ

ประการที่สาม มีผู้ดูแลผลประโยชน์ทำหน้าที่เก็บรักษาและดูแลทองคำแท่งที่ gold fund ลงทุน ซึ่งจะต้องจัดเก็บทองคำแท่งในสถานที่ที่ปลอดภัยโดยมีระบบป้องกันภัยที่ได้ มาตรฐานสากล ซึ่งต้องเป็นระบบที่เทียบเท่ากับระบบการเก็บรักษาเงินสดของผู้ดูแลผล ประโยชน์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือเป็นระบบการเก็บรักษาทองคำแท่งที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมค้าทองคำ แท่งเลยทีเดียว

ประการที่สี่ ชื่อของ gold fund จะต้องสื่อถึงลักษณะโครงสร้างของกองทุนและผลตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง gold fund ที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น มีนโยบายจ่ายผลตอบแทนในทิศทางตรงข้ามกับทองคำ หรือจ่ายผลตอบแทนแบบมีกำหนดขั้นสูงและขั้นต่ำ ซึ่งทำให้มีปัจจัยความเสี่ยงมากกว่า gold fund ทั่ว ๆ ไป

บลจ.จึง ต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่อาจมีเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวน รวมถึงลักษณะของการทำประกันภัยทองคำแท่งที่ gold fund ลงทุน ซึ่งหากไม่ได้ทำ หรือทำในวงเงินที่ไม่ครอบคลุมมูลค่าทองคำแท่ง ก็ต้องอธิบายความเสี่ยงและมีคำเตือนให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจน

เป็น อย่างไรครับ ถึงตรงนี้ท่านคงทราบแล้วว่า ท่านสามารถมั่นใจในการลงทุนใน gold fund ได้ขนาดไหน อย่างไรก็ดี การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลอย่างรอบคอบนะครับ และหากท่านมีคำถามหรือไม่มั่นใจในการลงทุนในตลาดทุนเรื่องใดอีก

ทั้ง นี้ ก.ล.ต. ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน สามารถติดต่อสอบถาม ก.ล.ต. ได้ที่ โทร. 0-2263-6000 หรือ E-mail : info@sec.or.th

Sponsor