13 February 2011

ยุทธศาสตร์ "พืชอาหาร-พลังงาน" นโยบายยืดหยุ่น "สมดุล-มั่นคง"



การบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการบริโภคพืชอาหารและพืช พลังงาน กับปริมาณผลผลิตและการนำเข้ากลายเป็นปัญหาใหญ่ของหลายประเทศ โดยเฉพาะช่วงที่ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถในการแก้ไขปัญหา เพราะหากบริหารจัดการพืชอาหารและพืชพลังงานทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ฉายภาพถึงยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการพืชอาหารและพืชพลังงานทั้งระบบ

เป้าหมายด้านการผลิต

มัน สำปะหลัง เป้าหมายพื้นที่ปลูก 7.0 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 5.0 ตัน/ไร่ หรือคิดเป็นผลผลิตมันสด 35.0 ล้านตัน/ไร่ (ในปี 2553 มีพื้นที่ปลูก 7.5 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3.0 ตัน/ไร่)

อ้อยโรงงาน กำหนดเป้าหมายพื้นที่ปลูก 6.0 ล้านไร่ ผลผลิต 13 ตัน/ไร่ หรือคิดเป็นผลผลิต 78.0 ล้านตัน (ในปี 2553 มีพื้นที่ปลูก 6.5 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10.9 ตัน/ไร่)

ปาล์มน้ำมัน (ปี 2551-2555) เป้าหมายพื้นที่ปลูก 5.5 ล้านไร่ ผลผลิต 3.0 ตัน/ไร่ ผลผลิตรวม 16.50 ล้านตัน (ในปี 2553 มีพื้นที่ปลูก 4.0 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 2.3 ตัน/ไร่) (ตาราง)

ใช้นโยบายเชิงยืดหยุ่น

กระทรวง เกษตรฯร่วมกับกระทรวงพลังงาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การใช้พลังงานทดแทนในรูปพลังงานชีวภาพเหลว (เอทานอล และไบโอดีเซล) โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทดแทนในปริมาณที่สอดคล้องกับปริมาณ วัตถุดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งกระทรวงพลังงานกำหนด นโยบายการใช้ทดแทนในเชิงยืดหยุ่น หากปีใดผลผลิตมี มากเกินความต้องการใช้ภายในประเทศ (ตลาดเดิม) จะนำส่วนเกินไปผลิตเป็นพลังงาน (ตลาดใหม่)



กรณี เอทานอล วัตถุดิบคือมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน วัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดมีมากเพียงพอต่อความต้องการในรูปพลังงาน อย่างไรก็ตามหากกระทรวงพลังงานเพิ่มเป้าหมายการใช้ทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น E85 แนวทางที่จะต้องดำเนินการคือ กระทรวงเกษตรฯจะต้องเร่งรัดเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เพิ่มขึ้นในระยะยาว เช่น เพิ่มผลผลิตอ้อยเป็น 15 ตัน/ไร่ และ มันสำปะหลัง 6.4 ตัน/ไร่ โดยพื้นที่ปลูกเท่าเดิม

กรณีไบโอดีเซล วัตถุดิบหลักคือปาล์มน้ำมัน ซึ่งผลิตได้ ไม่เพียงพอความต้องการในรูปพลังงาน จึงได้ปรับแผนการใช้ทดแทนพลังงานเป็น B5 คือนำน้ำมันปาล์มส่วนเกินมาผลิตเป็นพลังงานเท่านั้น ส่วนเป้าหมาย B10 เป็นทางเลือก

ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคง-สมดุล

ในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้กำหนดแนวทางผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง สมดุล ดังนี้

1.ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน เชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน 2.สนับสนุนให้ดำเนินมาตรการรักษาความสมดุลในการผลิตให้เพิ่มขึ้นภายใต้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด 3.ส่งเสริมการนำวัตถุเหลือใช้จากการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนการใช้ใน ระดับครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหาร

คณะ กรรมการอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงสาธารณสุขเป็นฝ่ายเลขานุการ ได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยดังนี้

1.ยุทธศาสตร์ ด้านความมั่นคงอาหาร จะเร่งรัดปฏิรูปการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่การเกษตร จัดการทรัพยากรน้ำและดินเพื่อการเกษตร และป่าชุมชน สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารกับพืชพลังงาน พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอาหาร สร้างแรงจูงใจในการทำการเกษตรและเพิ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ปรับปรุงพัฒนาระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งสร้างความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน



2.ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร สร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นมาตรฐานเดียว ส่งเสริมการค้าและการตลาด ฯลฯ

3.ยุทธศาสตร์ ด้านอาหารศึกษา เร่งส่งเสริมให้เกิดความ ร่วมมือและบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สนับสนุนการวิจัย การจัดองค์ความรู้เรื่องอาหารศึกษา

4.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ ปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งโครงสร้างองค์กรในห่วงโซ่ พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายในห่วงโซ่ ฐานข้อมูลและการจัดการ

มาตรการและแผนการผลิต-การตลาด

เพื่อ เตรียมความพร้อมรับมือการแข่งขันหลังมีการเปิดการค้าเสรีเต็มรูปแบบ กระทรวงเกษตรฯมีแนวทางพัฒนาเพื่อสร้างความสมดุลในการพัฒนาการผลิตสินค้า เกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้ร่างแผนพัฒนาการเกษตร ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

1.การปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผู้ผลิต บริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้เอื้อต่อการผลิตและการตลาดทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเตือนภัยธรรมชาติ และโรคระบาด

2.สร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร โดยสร้างตราสินค้าและตราสัญลักษณ์เพื่อให้สินค้าเกษตรมีความเป็นเอกลักษณ์ ผลักดันให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร และเครื่องมือทางการเกษตร ด้านเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีชีวภาพ ส่งเสริมแหล่งผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจร

3.ส่ง เสริมการทำการเกษตรในรูปแบบของการพัฒนา เครือข่ายกลุ่มธุรกิจ (cluster) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เชื่อมโยงด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ด้านการพัฒนาระบบตลาดสินค้า เกษตร-อาหาร จะสนับสนุนการใช้ตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับชุมชนและภูมิภาค ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคา ขยายตลาดส่งออกไปตลาดใหม่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ชู "Green Product"

ส่ง เสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green product) ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษ กำหนดมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ระบบฐานข้อมูล ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต พัฒนาระบบบริหารจัดการศัตรูพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยวิธีทางชีวภาพเพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี

เชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค-ต่างประเทศ

สร้าง ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการผลิต การตลาด การวิจัยพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาด สนับสนุนการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในทุกจังหวัด ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ศึกษาข้อมูล กฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้า นำไปปรับปรุงระบบการผลิต ลดอุปสรรคหรือข้อกีดกันทางการค้า

ศึกษาแนว ทางรองรับการเปิดเสรีการค้าจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการเชื่อมโยงกับตลาดโลก พร้อมกับสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร และการต่อยอดผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันได้







วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4288 ประชาชาติธุรกิจ

Sponsor