29 October 2010

The post-alcohol world

Biofuels are back. This time they might even work

From The Economist

MAKE something people want to buy at a price they can afford. Hardly a revolutionary business strategy, but one that the American biofuels industry has, to date, eschewed. Now a new wave of companies think that they have the technology to change the game and make unsubsidised profits. If they can do so reliably, and on a large scale, biofuels may have a lot more success in freeing the world from fossil fuels than they have had until now.

The original 1970s appeal of biofuels was the opportunity to stick up a finger or two, depending on the local bodily idiom, to the oil sheikhs. Over time, the opportunity to fight global warming added to the original energy-security appeal. Make petrol out of plants in a sufficiently clever way and you can drive around with no net emissions of carbon dioxide as well as no net payments to the mad, the bad and the greedy. A great idea all round, then.

Sadly, in America, it did not work out like that. First, the fuel was not petrol. Instead, it was ethanol, which stores less energy per litre, tends to absorb water and is corrosive; people will use it only if it is cheap or if you force them to through mandatory blending. In Brazil, which turned to biofuels after the 1970s oil shocks, the price of ethanol eventually became low enough for the fuel to find a market, thanks to highly productive sugar plantations and distilleries powered by the pulp left when that sugar was extracted from its cane. As a result Brazil is now a biofuels superpower. North American ethanol is mostly made from corn (maize), which is less efficient, and often produced in distilleries powered by coal; it is thus neither as cheap nor as environmentally benign. But American agribusiness, which knows a good thing when it sees one, used its political clout to arrange subsidies and tariffs that made corn-ethanol profitable and that kept out the alternative from Brazil.

This still left the problem: using corn limits the size of the industry and pits it against the interests of people who want food. Boosters claimed that cellulose, from which the stalks, leaves and wood of plants are made, could if suitably treated become a substitute for the starch in corn. Both starch and cellulose consist of sugar molecules, linked together in different ways, and sugar is what fermentation feeds on. But cellulosic biofuel has so far failed, on an epic scale, to deliver. At the moment, only a handful of factories around the world produce biofuel from cellulose. And that fuel is still ethanol.

This is what companies working on a new generation of biofuels want to change. Instead of ethanol, they plan to make hydrocarbons, molecules chemically much more similar to those that already power planes, trains and automobiles. These will, they say, be “drop-in” fuels, any quantity of which can be put into the appropriate fuel tanks and pipelines with no fuss whatsoever. For that reason alone, they are worth more than ethanol.

Appropriately designed drop-in fuels can substitute for diesel and aviation fuel, which ethanol cannot. That increases the size of the potential market. They also have advantages on the production side. Because crude oils from different places have different chemical compositions, containing some molecules engines won’t like, oil refineries today need to do a lot of careful tweaking. The same applies to the production of biodiesel from plant oils. Genetically engineered bugs making hydrocarbons more or less from scratch could guarantee consistent quality without the hassle, thus perhaps commanding a premium with no extra effort. Meanwhile the feedstock could be nice and cheap: Brazilian sugar. Tariffs that block Brazilian ethanol from northern markets do not apply to drop-in hydrocarbons.


Scale models

If this approach works, it will not only be beneficial in its own right—modestly reducing greenhouse-gas emissions while making money for its investors—it will also provide a lasting market incentive to scientists to devise better ways of turning cellulose into sugar. This gives the prospects for this generation of biofuels a plausibility that was missing from its predecessors. The drop-in firms are starting to come out of the laboratory, float themselves on the stockmarket, team up with oil companies and build their first factories. The dice, in other words, are rolling.

One of the leaders of the drop-in drive is Alan Shaw, the boss of Codexis, a firm based in Redwood City, California, which makes specialised enzymes that perform tricky chemical conversions. In Dr Shaw’s opinion, the industry’s problem has not been bad products so much as a failure to think big.

Dr Shaw proposes to remedy that. In collaboration with Shell, an Anglo-Dutch oil company, and Cosan, Brazil’s third-largest sugar producer, he plans to build a factory capable of producing 400m litres (2.5m barrels, or 105m gallons) of drop-in fuel every year. The other companies will provide money, reaction vessels and sugar. He will provide the enzymes and genetically engineered bacteria needed to make a drop-in fuel.

The project is part of a joint venture by Shell and Cosan; with a capacity of more than 2 billion litres a year, it is the world’s largest biofuel operation, and it owns a 16.4% stake in Codexis. At the moment, the joint venture’s business is based on fermenting cane sugar into ethanol, but the new plant would start changing that. Codexis’s enzymes and bacteria can turn sugar into molecules called straight-chain alkanes which have between 12 and 16 carbon atoms in them. Such alkanes are the main ingredients of diesel fuel.

In April Codexis became the first start-up involved in drop-in fuels to float itself on a stockmarket—which in this case was NASDAQ, America’s main market for high-tech stocks. But it is not the last. Another firm that recently completed its NASDAQ flotation is Amyris, of Emeryville, which is also in the San Francisco Bay area. Amyris started off using large-scale genetic engineering, also known as synthetic biology, to create bugs that make a malaria drug. But now it, too, has a product that it claims is a drop-in biodiesel. And it, too, has hooked up with an oil company: Total, of France, which owns 17% of the firm.

Amyris’s biodiesel is made of more complicated molecules than Codexis’s (they are known, technically, as terpenes), and the firm employs genetically engineered yeast, rather than bacteria. But Brazilian sugar is again used as the raw material. Amyris has formed a joint venture with Santelisa Vale, Brazil’s second-largest sugar company, and is busy refitting some of that firm’s ethanol plants in order to make drop-in diesel.

The Codexis-Cosan-Shell partnership and the Amyris-Santelisa-Total one are the furthest along of the drop-in fuel businesses, but others are coming up on the rails. LS9, which is based in South San Francisco (a separate municipality that has a cluster of biotech companies), also uses bacteria to make straight-chain alkanes. It is converting a fermentation plant in Florida into a test facility to see if what works in the laboratory will work at scale. And Virent, based in Madison, Wisconsin, is making alkanes out of sugars using a chemical, rather than a biological, process.

Gevo, of Englewood, Colorado, which filed for flotation on NASDAQ in August, is planning to make another type of post-ethanol fuel: butanol. Like Codexis, it will use enzymes and genetically engineered bugs to do this; like Amyris and LS9, it will retrofit existing ethanol plants to keep the cost down. The aim is to turn out an annual 2 billion litres of butanol by 2014. BP, a British petroleum company, is building a butanol pilot plant to do this near Hull in the north of England and also has big ambitions for the fuel.

Like ethanol, butanol is an alcohol. That means each of its molecules contains an oxygen atom as well as the carbon and hydrogen found in an alkane. Butanol, however, has four carbon atoms in its molecules, whereas ethanol has two. That gives butanol more energy for a given mass and makes it more alkane-like in its properties; nor does it absorb water as readily as ethanol. Moreover, the production process for butanol is more efficient than the processes that produce alkanes; proportionately more of the energy from the feedstock (various crops for Gevo, wheat for BP) ends up in the final fuel. And BP will certainly be able to bring to the party the ambitious scale that Dr Shaw praises.

The last of the Bay-area drop-in contenders is, in many ways, the most intriguing. Solazyme, another firm based in South San Francisco, wants to use single-celled algae to make its fuel. This is not a new idea. Craig Venter, who led the privately financed version of the Human Genome Project, is trying it too, through his latest venture, Synthetic Genomics, in San Diego. Synthetic Genomics is backed by the biggest oil beast of them all, ExxonMobil—and several other firms have similar ideas, if not the same heavyweight backing. Solazyme’s approach is unusual, though. Instead of growing its algae in sunlit ponds it keeps them in the dark and feeds them with sugar.

At first sight this seems bonkers. The attraction of algae would seem to lie in the possibility that, since they photosynthesise, they could be engineered to contain the whole sunlight-to-fuel process in one genetically engineered package. Sunshine being free, this looked a brilliant idea. But looks can be deceptive. If you keep your algae in ponds the rays do not always strike them at the best angle and the algae sometimes shade one another if they are growing densely. Photobioreactors—complicated systems of transparent piping through which alga-rich water is pumped—overcome those problems, but they cost a lot and are hard to keep clean. Solazyme tried both of these approaches, and almost went bankrupt in the process. Then its founders, Jonathan Wolfson and Harrison Dillon, asked themselves whether it might not be cheaper to ignore the photosynthetic step, buy the sugar that photosynthesis produces instead, and concentrate on getting the algae to turn it into oil.

Which is what the firm now does. It also has a nice little earner in the form of a contract with the American navy. The navy intends that, by 2020, half the fuel it uses (over six billion litres a year, mainly diesel and jet fuel) will be from renewable sources. Over the past year Solazyme has been providing it with trial quantities of both from its production facilities in Pennsylvania and Iowa. The algal oils are not themselves good fuel; but a refinery in Houston takes care of that, producing shipshape alkanes of the sort the navy likes.


High-fibre diet

The success of all this obviously depends on the price of sugar, which is rising. Historically, the cost of making Brazilian ethanol has been about 26 cents a litre. Diesel will cost more, but petroleum-based diesel sells in America for 57 cents a litre before distribution costs and tax, so there should be room for profit. Nevertheless, if drop-in fuels are to become a truly big business they need a wider range of feedstocks.

Until recently, the assumption has been that cellulose would take over from sugar and starch as the feedstock for making biofuels. Making cellulose into sugar is technically possible, and many firms are working on that possibility. Some are using enzymes. Some are using micro-organisms. Still others have a hybrid approach, part biotechnological and part traditional chemistry. And some go for pure chemistry, breaking the cellulose down into a gaseous mixture of hydrogen and carbon monoxide before building it back up into something more useful.

The reason for this enthusiasm has been government mandates: America’s Renewable Fuel Standard (RFS-2) and its European equivalent. On pain of fines, but with the carrot of subsidies, these require that a certain amount of renewable fuel be blended into petroleum-based fuels over the next decade or so. RFs-2 calls for a 10% blend of cellulosic fuel by 2022.

The targets in RFS-2, though, represent a huge climbdown. Its predecessor, RFS-1, called for 379m litres of cellulosic ethanol to be produced in 2010; RFS-2 mandates only 25m litres. The industry in fact has a capacity of about 70m litres today, according to the Biotechnology Industry Organisation (BIO), an American lobby group.

The reduced expectations reflect the fact that making fuel out of cellulose turns out to be hard and costly. Today’s cellulosic ethanol is competitive with the petrol it is supposed to displace only when the price of crude oil reaches $120 a barrel. In Dr Shaw’s view, a lot can be done by scaling up (and using the appropriate enzymes, of course, which Codexis will be only too happy to sell you). And big plants will, indeed, bring the price down—probably not to the point where cellulosic ethanol can compete in a fair fight, but quite possibly to a level at which fuel companies will make or buy the stuff rather than pay fines for not doing so.

Phil New, the head of biofuels at BP, says his firm is determined to comply with RFS-2. To that end it is planning a plant in Florida that will have a capacity of 137m litres when it comes on stream in 2013. It is one of seven cellulosic-ethanol fermentation plants with annual capacities above 38m litres (that is, 10m gallons) which BIO says should be running by 2013, with a further seven making ethanol using syngas conversion. However, such claims are not that different from those made three years ago—which singularly failed to bear fruit.


Grassed up

If things work out better this time, it still leaves the question of where the cellulose is to come from. The answer is likely, in one form or another, to be grass.

Though they look very different, sugar cane and corn are both grasses. So is wheat, which is corn’s counterpart as the starch source of choice in the EU. A simple way of garnering cellulose is to gather up the leftovers when these crops have been processed—bagasse from sugar cane, stover from corn and straw from wheat.

That is a start, but it will not be enough, Wood is a possibility, particularly if it is dealt with chemically, rather than biologically (much of the carbon in wood is in the form of lignin, a molecule that is even tougher than cellulose). But energy-rich grasses look like the best bet. Ceres, which is based in Thousand Oaks, California, has taken several species of fast-growing grass, notably switchgrass and sorghum, and supercharged them to grow even faster and put on more weight by using a mixture of selective breeding and genetic engineering. Part of America’s prairies, the firm hopes, will revert to grassland and provide the cellulose that biofuels will need. The Energy Biosciences Institute that BP is funding at the University of Illinois, in Urbana-Champaign, is working on hybrid miscanthus, an ornamental grass that can produce truly remarkable yields.

If the price were right, such energy crops might take America a fair bit of the way to the “energy independence” that early proselytisers for biofuels crowed about. A study carried out last year by Sandia National Laboratories, an American government outfit, suggests that in theory 285 billion litres of cellulosic biofuel a year could be extracted from the country’s agriculture and forestry without breaking too much sweat. That is 1.8 billion barrels, compared with American oil imports of 4.3 billion barrels in 2009. Europe’s higher human-population density leaves less space for energy crops. But there is clearly some room for expansion in the Old World as well as the New.

Beyond the rich countries, capacity is greater still. In a fit of enthusiasm a few years ago Steven Chu, now America’s energy secretary, floated the idea of a global glucose economy to replace oil. That is going a bit far. Brazil is a well-governed country, but other parts of the tropics, though endowed with sunshine and cheap land, are not always the sorts of places that the wise investor would pile into. And Brazil’s blessings in terms of oodles of land that can grow cane with no irrigation are not widespread. Nevertheless, the country’s success shows that international trade in biofuels is a possibility. If it brought economic development to less favoured lands, that would surely be welcome.


Drop in or drop out

Such a future, though, depends on cars continuing to be powered by liquid fuels. A large shift to electric cars would put the kibosh on the biofuel market as currently conceived by most of its supporters; but it would not necessarily kill the principle of using plants to convert sunlight into car-power. The goal of reducing emissions needs low-carbon generators to power the grid the electric cars draw juice from. Put the energy crops in generators instead of distilleries and off you go.

Richard Hamilton, the boss of Ceres, says he is indifferent as to whether his grasses end up in petrol tanks or power stations. Others think making them into electricity might be a better answer anyway. A study published last year by Elliott Campbell, of the University of California, Merced, and his colleagues suggested that turning crops into electricity, not fuel, would propel America’s cars 80% farther and reduce greenhouse-gas emissions even more. Electrons are easy to transport and burning uses all of the fuel value of a plant—including that stored in the lignin which current processing methods find hard to deal with.

The electrification of cars, however the electricity might be generated, would be the end of the road for ethanol. But not necessarily for drop-ins. There is no realistic prospect for widespread electric air travel: the jet engines on aircraft need the high-energy density that only chemical fuels can provide. So if you want low-carbon flying, drop-in biofuels are the only game in town. And civil aviation alone is expected to use 250 billion litres of fuel this year, is growing fast and could pay a premium if its emissions were subject to a cap or a tax. Over the long run, the future for biofuels may be looking up.

B3-4bn sought for flood compensation

The Agriculture Ministry plans to seek cabinet approval next week to set aside 3-4 billion baht to compensate farmers affected by floods.

The floods have affected an estimated 4 million rai that of farmlands, including 2.8 million rai of rice fields, one million rai of field crops and 120,000 rai of orchards, said Apichart Jongskul, the secretary-general of the Office of Agricultural Economics.

He said that of the flood-hit rice farmland, one million rai were ruined and it was necessary for the government to minimise the impact.

"Many of these farmers had been told early this year to delay planting their crops in order to avoid impact from drought. They agreed to do so but when their paddy started to ripen, floods hit the plantations," he said.

It is the obligation for the government to shoulder their cost, at about 55% of total production cost estimated at 4,000 baht per rai, he said. If the cabinet approved the idea, rice farmers would receive about 2,200 baht per rai to offset costs from seedlings and fertilisers.

In a related development, Mr Apichart said that the current floods, drought early this year, and the strong baht were expected to reduce farm household incomes for the 2010-11 crop year

He said that in addition to lost sales opportunities when produce was damaged, the farm sector would see reduced income in areas such as farm services and wages from reaping paddy.

Mr Apichart said that strong prices helped increase average cash income to farmers by 2.5% to 135,531 baht per household in the crop year that ended in April 2010.

Food crops. mainly rice have attributed a big portion, up to 86% to the country's total farm earnings, and the balance is from livestock and other sources. There are 5.9 million farm households across the country and their earnings will be a key measure to assess the effectiveness of government policies.

Source: Bangkok Post

20 October 2010

จีนขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี

ธนาคารกลางจีนประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของจีนในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ เคยใช้เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฝ่าฟันวิกฤตการเงินโลกมาได้ แต่ปัจจุบันเครื่องมือดังกล่าวกำลังคุกคามเติมเชื้อเงินเฟ้อ



วอลล์สตรีต เจอร์นัลอ้างแถลงการณ์ของธนาคารกลางจีนว่า จีนจะขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้หยวนระยะ 1 ปีจาก 5.31% เป็น 5.56% และขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลหยวนระยะ 1 ปี จาก 2.25% เป็น 2.5%

การ ปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างเซอร์ไพรส์ครั้งนี้เป็นความพยายามล่าสุดของจีนที่ต้อง การบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัวขึ้น ขณะที่สหรัฐส่งสัญญาณว่าจะมีการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และนักลงทุนอัดฉีดเงินเข้าเอเชียเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น



หวัง เตา นักเศรษฐศาสตร์ของยูบีเอส ซิเคียวริตี้ส์ วิเคราะห์ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นสิ่งจำเป็น และมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าต้องการคุมราคาอสังหาริมทรัพย์และอัตราเงินเฟ้อ



ข่าวนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินเมื่อวัน อังคาร โดยดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลียที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะชะลอการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน และกระทบต่อความต้องการวัตถุดิบ อีกทั้งยังเพิ่มแรงกดดันต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งพึ่งพาการส่งออกคอมโมดิตี้อย่างมาก

ทั้งนี้ ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงราว 0.9% มาสู่ระดับต่ำสุดในรอบวันที่ 0.9806 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขณะที่ยูโรร่วงลง 0.3% มาอยู่ที่ 1.3873 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ยูโร



วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 00:25:11 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กูรูจีนแนะวิธีลงทุน หนุนใช้หยวนมากขึ้น

นายแบงก์ต่างชาติในจีนแนะวิธีลงทุนให้ประสบ ความสำเร็จ หนุนบริษัทใช้หยวนเป็นสกุลเงินในการทำการค้าระหว่างสองประเทศมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน และลดต้นทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ราว 5-7%

นายแม็กนัส มอนแทน ผู้อำนวยการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศจีน กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง "Unlocking Business Potential in China with HSBC" ว่า จีนเป็นตลาดสำคัญของโลกในปัจจุบัน ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 10.3% ในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ พร้อมกับจำนวนผู้บริโภคภายในประเทศจำนวนมาก ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจต่างชาติในการเข้าไปทำธุรกิจในแดน มังกร ทั้งนี้หากพิจารณาการทำธุรกิจของบริษัทไทยในจีนพบว่า อุตสาหกรรมส่งออกของไทยไปจีนที่กำลังเติบโต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมิคัล สินค้ามันสำปะหลัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่เย็น และผลไม้แช่แข็ง ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกทรงตัว คือ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

และเมื่อพิจารณาแนวโน้มการบริโภคภาคเอกชน ภายในจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทไทยควรเน้นการทำธุรกิจที่ป้อนสินค้าเพื่อการบริโภคของชาวจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจในจีน ก็มีความท้าทายเหมือนกับประเทศอื่นๆ ซึ่งบริษัทต่างชาติต้องทำความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยปัจจัยท้าทายดังกล่าว ได้แก่ ความเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆในจีน ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต่างชาติจึงควรมีพันธมิตรผู้ประสานงานที่ช่วยให้ปรับตัวทันต่อ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ความท้าทายประการต่อไปคือ การหาแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์เหมาะสมเข้ามาร่วมงานกับบริษัท ซึ่งปัจจุบันแรงงานกลุ่มนี้เป็นที่ต้องการของธุรกิจต่างชาติสูงมาก


นอกจากนี้ เนื่องจากจีนเป็นประเทศใหญ่ ทำให้แต่ละภาคมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการทำวิจัยการตลาด เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ แนวทางการตลาดที่เหมาะสมกับตลาดท้องถิ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับระบบโลจิสติกส์ ที่ยังถือเป็นความท้าทายสำคัญของธุรกิจต่างชาติที่ทำธุรกิจในจีน เพราะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการจัดส่งสินค้าจากแหล่งผลิตสู่ผู้บริโภค

ทั้งนี้ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภคชาวจีนเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย สำคัญของบริษัทต่างชาติที่เริ่มเข้าไปทำธุรกิจในแดนมังกร โดยในช่วงแรกจะต้องทุ่มงบประมาณสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอม รับในประเทศยักษ์ใหญ่รายนี้ก่อน

สำหรับประเด็นของบทบาทเงินหยวนนั้น นายมอนแทน เชื่อว่า เงินหยวนมีศักยภาพก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของสกุลเงินสำคัญของโลกในอนาคต โดยอาจใช้เวลาอีกไม่นาน หยวนจะกลายเป็นสกุลเงินสำคัญของการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าภายในปี 2555 การค้าของจีนราว 1 ใน 3 จะใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งข้อดีของการใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินในการทำการค้าระหว่างบริษัทไทยและ จีนคือ จะช่วยลดผลกระทบของความผันผวนของเงินดอลลาร์ ทำให้ไม่ต้องแปลงสกุลเงินหลายครั้ง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ราว 5-7%

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08:54:10 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

19 October 2010

นักวิชาการค้านลด'ดบ.'สู้บาทแข็ง แนะยกเครื่องอุตฯส่งออกระยะยาว

รัฐ-นัก วิชาการเสนอเร่งปฏิรูปอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ค้านแนวคิด "ดร.โกร่ง" เสนอหั่นดอกเบี้ยรวดเดียว 0.75%-กำหนดค่าบาท ระบุไม่จำเป็นต้องใช้ยาแรง แค่ กนง.ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยนโยบาย ก็เพียงพอดูแลเงินทุนไหลเข้า "ศุภชัย พานิชภักดิ์" แนะบริหารสัดส่วนการพึ่งพารายได้ส่งออกไม่เกิน 40-50% ลดทอนอิทธิพลอัตราแลกเปลี่ยน พบทุนร้อนจ่อทะลักท่วมโลก 5 แสนล้านดอลลาร์ใน ครึ่งแรกปี"54 หากสหรัฐปั๊มเงินรอบสอง ส่อฉุดดอลลาร์อ่อนลึกต่ออีก 15% สิ้นปีนี้


ดร.ศุภ ชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้ายการค้าและการพัฒนา (UNTAD) ให้ความเห็นขณะร่วมงานประชุมนานาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีการบินไทย หัวข้อ "เอเชีย : ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจกับอุตสาหกรรมการบิน-Asia : Beyond the Economic Horizon" ว่าสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินทั่วโลกกำลังมีปัญหาก็จริง แต่ไทยยังมีความแข็งแกร่ง จากเสถียรภาพของกลุ่มประเทศเอเชียเศรษฐกิจแข็งแรงมาก ผนวกกับการเติบโตทางการลงทุนสูงที่สุดในโลกกว่า 20% ส่วนการแข็งค่าของเงินบาทเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับปัจจัยพื้นฐานเมื่อระบบ เศรษฐกิจโลกผันผวนค่าเงินบางประเทศอาจแปรผันตามไปบ้าง

สำหรับทางออก ของไทยขณะนี้ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ดูแลดุลการชำระเงินให้คงที่ รักษารายรับของภาคการเกษตรไม่ให้ถูกกระทบมากเกินไป ขณะที่ตัวเลขเงินสำรองปัจจุบันมีสูงมากพอจะตั้งวิกฤตต่าง ๆ ได้ จีดีพีของประเทศเติบโตปีนี้ดี 7-8%

สิ่งที่กระทรวงการคลังทำอยู่ขณะ นี้น่าเชื่อถือสูงสุดแล้ว เพียงแต่จะต้องเพิ่มมาตรการโดยเปิดกว้างให้ธุรกิจในประเทศนำเงินไปลงทุนใน ต่างประเทศ บวกกับการส่งเสริมให้การใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น ทางด้านการผลิต ที่อยู่อาศัย สวัสดิการ สาธารณูปโภค และไม่ควรจะกังวลกับการพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกจะโดนพิษบาทแข็ง หากสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับ 40-50% ได้

"ขณะนี้อาเซียนหลาย ประเทศไม่ว่าจะเป็นไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็เจอปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนพอ ๆ กัน แต่ทุกประเทศมีจุดแข็งตรงเป็นฐานการผลิตอาหาร การเกษตร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ แยกส่วนกันแต่สามารถนำไปประกอบรวมสำเร็จรูปได้ในจีน ดังนั้นจึงไม่ได้แย่งตลาดกันแต่กลับเกื้อหนุนกันมากกว่า เป็นผลดีมากกว่าเสียต่อการส่งออกไทยเองก็เติบโตกว่า 20% สิงคโปร์เพิ่มกว่า 30% หากคุยเพื่อร่วมมือกันได้จะยิ่งดี เรื่องนี้เตรียมหารือในเวทีอาเซียนซัมมิต"

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า โดยภาพรวมเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งและ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไทยสามารถพึ่งพาโดยใช้ประโยชน์จากเครือ ข่ายการตลาดจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้ และรัฐบาลเองจะเร่งลงทุนพัฒนาความรู้บุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ควบคู่กันไปเพื่อเชื่อมโยงการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาศัย

สิ่งแวดล้อม เชิงบวกเพื่อสร้างเสถียรภาพ ค่าเงินบาทที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินของโลกใน ขณะนี้ ถือว่ายังไม่เลวร้ายถึงขั้นวิกฤต

เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ทางจีดีพีเติบโตได้ถึง 8% โดยเฉพาะการสร้างรายได้จากการขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตลาดต่าง ประเทศปี 2553 ได้ถึง 15 ล้านคน รวมถึงเศรษฐกิจไทยในสถานการณ์ปัจจุบันมีความพร้อมจะเผชิญวิกฤตรอบด้านจาก 4 ปัจจัย คือ 1.การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก 2.การ

ส่งเสริมให้การลงทุน ภาคเอกชนขยายตัว 3.การเพิ่มศักยภาพการผลิต ด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ 4.การทำงานของรัฐบาลต้องโปร่งใส เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ในวันเดียวกัน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ได้กล่าวในงานสัมมนาพิเศษ "Resetting Thailand หรือทิศทางเศรษฐกิจชาติ มหภาคไทย" จัดโดยหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่โรงแรมสยาม

อินเตอร์คอนติ เนนตัล เมื่อวานนี้ (15) ได้ระบุถึงค่าเงินบาทที่เป็นปัญหาขณะนี้ว่า เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอาจจะเปราะบาง ศักยภาพของผู้ประกอบการอาจยังไม่ถึงระดับแข่งขันได้ โจทย์คือจะทำอย่างไรให้พวกนี้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นมาได้

"เรื่องการ เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน ทุกรัฐบาลพูดกันมานาน 5-6 ปี รวมถึงเรื่องค่าเงินบาทผันผวนเป็นระยะ ๆ โจทย์นี้ก็พูดกันมานานหลายปี ตอนนี้กำลังดูอยู่ว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างจริงจังอย่าง ไร โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาคน พัฒนาการวิจัย จะต้องมีแผนที่ชัดเจน มีเงินลงทุนที่ชัดเจน" นายอารีพงศ์กล่าว

สำหรับ ผลจากการแข็งค่าของเงินบาท นายอารีพงศ์ระบุว่าไม่ได้กระทบอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยมีอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ประมาท 40% และที่ไม่ถูกกระทบอีก 30% ส่วนที่เหลืออีก 30% ยอมรับว่า ได้รับผลกระทบรุนแรง ต้องดูแล โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกรายย่อยที่มีมูลค่าส่งออกไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งทั้งระบบมี 17,000 ราย ในส่วนนี้กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐช่วย เหลือ ทั้งเรื่องสภาพคล่อง การลดต้นทุน และการป้องกันความเสี่ยง

ชี้ กนง.แค่ส่งซิกคง ดบ.พอแล้ว

ต่อ ข้อเสนอของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ย 0.75% และกำหนดเป้าหมายค่าเงินบาทนั้น นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ

สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่า การดูแลเงินทุนไหลเข้า กนง.ไม่จำเป็นต้องใช้ยาแรงด้วยการลดดอกเบี้ยลงก็ได้ เพียงแค่ส่งสัญญาณชัดเจนว่า คงดอกเบี้ยก็เพียงพอแล้ว

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า เรื่องเงินทุนไหลเข้า อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาท ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นการทดสอบภาคทางการ (รวม ธปท.) จะมีแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินมากน้อยเพียงใด หรือมี ศอฉ.ทางการเงินหรือไม่ รวมทั้งเป็นปัญหาของภาคธุรกิจด้วย

นายอาคมประเมินว่า เงินบาทที่แข็งค่าแม้จะกระทบการส่งออกในปีนี้ คือ ทำให้รายได้ผู้ส่งออกเป็นเงินบาทลดลง แต่จะไม่กระทบการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทั้งปีนี้ที่สภาพัฒน์ประมาณการไว้ 7-7.5% เนื่องจากการคิดจีดีพีคำนวณจากปริมาณการส่งออก ซึ่งช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้

ผู้ส่งออกมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้แล้ว

ในส่วนของมุมมองในตลาด ขณะนี้แทบไม่มีใครมองว่า กนง.จะลดดอกเบี้ย นาย

พร เทพ ชูพันธุ์ ผู้จัดการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้ดอกเบี้ยจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ดึงเงินให้ไหลเข้า แต่แรงกดดันต่อค่าเงินบาทขณะนี้คงทำให้ กนง.คงดอกเบี้ยในการประชุมรอบวันที่ 20 ก.ย. แต่คงไม่ลดตามที่มีบางฝ่ายเสนอ เพราะที่ผ่านมา ธปท.ส่งสัญญาณแล้วว่าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น

"ถ้า กนง.ลดดอกเบี้ย จะเซอร์ไพรส์ตลาดมาก เพราะที่ผ่านมากว่าเขาจะปรับขึ้นได้ก็มีการส่งสัญญาณถึงตลาดอยู่ตั้งนาน แต่นี่ไม่มีสัญญาณว่าจะลด"

ระวังเงินเฟ้อสูง หากลด ดบ.แรง

ดร.ตี รณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินปัญหาค่าเงินบาทในขณะนี้ว่าทางการน่าจะมีเพียง 2 ทางเลือก โดยทางแรกคือ ดูแลค่าเงินบาทให้อ่อน โดยอาจลดอัตราดอกเบี้ย ชะลอเงินไหลเข้า และเข้าแทรกแซงซื้อเงินดอลลาร์ แต่ปัญหาที่จะตามมาคือ เงินเฟ้ออาจปรับสูงขึ้น เพราะสภาพคล่องจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่แบกรับภาระคือประชาชนทั่วไป แต่ผู้ส่งออกได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ ธปท.สามารถออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่องเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ แต่หากทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะมีต้นทุนในการดำเนินนโยบาย ที่น่าห่วงคือ ภาระหนี้ ธปท.จะสูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับทุนอาจทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง ในที่สุดจะกลายเป็นปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อทิศทางการดำเนินนโยบาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องระวังด้วย

ส่วนทางเลือกที่สองคือ พยุงไม่ให้เงินบาทแข็งเร็วเกินไป เพราะคงจะฝืนกระแสตลาดลำบาก ซึ่งเชื่อว่าปัญหาค่าเงินจะต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี วิธีนี้ผู้ส่งออกอาจได้รับผลกระทบบางส่วน โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ไม่มีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน แต่ประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์ เพราะเงินบาทแข็งมีส่วนช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อ

"ปัญหาการแข็งค่าของเงินคงเป็นต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี" ดร.ตีรณกล่าว

จับตาดอลลาร์ดิ่งอีก 15% สิ้นปีཱ

ดอลลาร์ ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ในต้นเดือนหน้า โดยโคจิ ฟูคาย่า ประธานฝ่ายกลยุทธ์เงินตราของเครดิต สวิส ซีเคียวริตี้ ในโตเกียว กล่าวกับรอยเตอร์สว่า ณ จุดนี้ ไม่มีแนวโน้มที่ดอลลาร์จะดีดตัวกลับอย่างต่อเนื่อง แต่อาจมีการปรับตัวแข็งขึ้นบ้างในบางช่วง หากธุรกรรมที่ถือสถานะ "ขาย" ดอลลาร์มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก

อดัม คาร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากไอซีเอพี ออสเตรเลีย ในซิดนีย์ คาดการณ์ว่า ดัชนีดอลลาร์ (dollar index) ซึ่งพัฒนาโดยอินเตอร์คอนติเนนตัล เอ็กซ์เชนจ์ เพื่อใช้เป็นติดตามค่าเงินดอลลาร์ เทียบเงินสกุลหลักต่าง ๆ อาทิ ยูโร เยน และ

สวิสฟรังก์ มีแนวโน้มจะปรับลดลง 3-5% เป็นอย่างน้อย หรือสูงสุด 10-15% ภายในสิ้นปีนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐประกาศเพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลรอบใหม่ ในการประชุมต้นเดือนพฤศจิกายน

ทั้งนี้ เมอร์ริล ลินช์ ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐซื้อสินทรัพย์ทางการเงินสกุลดอลลาร์ เป็นมูลค่ารวมอย่างน้อย 5 แสนล้านดอลลาร์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 จากวงเงินทั้งหมด 1 ล้านล้านดอลลาร์ ที่คาดว่า สหรัฐจะตั้งไว้สำหรับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบ

สภาอุตฯเสนอ 7 มาตรการเบรกค่าบาท

นาย พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับ 14 กลุ่มอุตสาหกรรม, 10 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด, 7 สมาคมการค้า, สมาคมธนาคารไทย และตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ได้ข้อสรุปของภาคเอกชนที่จะเสนอรัฐต่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็ง ค่าของเงินบาททั้งสิ้น 7 มาตรการ ได้แก่

1)ขอให้ ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ให้เหลือ 1.25% ซึ่งจะไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ จนมีผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทย 2)มาตรการ

ต่าง ๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท.ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีมาตรการแต่ไม่สามารถปฏิบัติ ประกอบกับต่างชาติเห็นช่องโหว่ก็เพิ่มเงินไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินมากขึ้น เช่น มาตรการชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร, โครงการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ก็ยังไม่มีการผ่อนปรนหลักประกัน เป็นต้น

3) ธปท.ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร 4)ขอให้ ธปท.เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะการเก็งกำไรทั้งในตลาดทุนและตลาดตราสาร หนี้ โดยจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด 5)

ขอให้ ธปท.ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และแลกเปลี่ยนเงินบาทของสถาบันการเงิน และ/หรือผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน

6)ขอ ให้ ธปท.และกระทรวงการคลังร่วมมือในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออก มาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงินและการคลังให้สอดคล้องกัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น และ 7)ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงิน ทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศในอัตรา 2-4% เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการจัดเก็บในส่วนนี้ แต่มีระเบียบสามารถดำเนินการได้ โดยมีหลายประเทศที่ทำอยู่ เช่น อินโดนีเซีย, บราซิล เป็นต้น

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4254 ประชาชาติธุรกิจ

ไฟลต์ดีเลย์ทำต้นทุนเศรษฐกิจเพิ่ม 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์

เอพี รายงานว่า ไฟลต์บินที่ล่าช้ากว่ากำหนดส่งผลกระทบมากกว่าแค่ความไม่สะดวกในการเดินทาง แต่ยังทำให้ผู้โดยสารต้องแบกต้นทุนถึง 16.7 พันล้านดอลลาร์ และส่งผลต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจโดยรวมราว 33 พันล้านดอลลาร์


สำนักงานบริหารการบินแห่งสหรัฐ (FAA) ได้ศึกษาเรื่องต้นทุนของผู้โดยสารจากกรณีที่ไฟลต์บินดีเลย์ในปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่เก็บข้อมูลอย่างสมบูรณ์ล่าสุด พบว่า กรณีที่ไฟลต์บินดีเลย์ทำให้หลายฝ่ายมีต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยในส่วนต้นทุนของสายการบินจากกรณีไฟลต์ดีเลย์อยู่ที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าจ้างลูกเรือ เชื้อเพลิง และการบำรุงรักษา ส่วนต้นทุนทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 33 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งเป็นส่วนที่ผู้โดยสารต้องแบกรับ หรือราว 16.7 พันล้านดอลลาร์


อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในส่วนดังกล่าวลดลงในช่วง 3 ปีหลังจากปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ในปี 2550 การเดินทางโดยเครื่องบินเพิ่มขึ้นมาก เพราะเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก


ข้อมูลจากสำนักงานสถิติคมนาคม พบว่า ในปี 2550 จำนวนไฟลต์บินในประเทศที่ดีเลย์อยู่ที่ 1.3 ล้านไฟลต์ และยกเลิกไฟลต์บินราว 119,000 เที่ยว ส่วนในปีที่แล้ว มีไฟลต์บินดีเลย์ 85,000 ไฟลต์ และยกเลิกบินอีก 63,000 ไฟลต์


ทั้งนี้ การที่ไฟลต์บินล่าช้ามักเกิดจากปัญหาทางเทคนิค หรือสภาพอากาศ แต่ก็สามารถบริหารจัดการได้โดยเพิ่มความสามารถในการรองรับของสนามบิน และระบบควบคุมการจราจรทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็อาจทำให้รัฐบาลและอุตสาหกรรมการบินต้องแบกต้นทุนราว 40 พันล้านดอลลาร์



วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 15:15:30 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

15 October 2010

กลไกการแข็งค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ยติดลบ และเงินเฟ้อต่ำ

โดย สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์

เรื่อง การแข็งของค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยต่ำ และเงินเฟ้อต่ำ มีความสัมพันธ์ต่อกัน มีต้นเหตุจากเรื่องเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันได้ เรื่องนี้เริ่มต้นที่การเคลื่อนย้ายของเงินทุน (ขอนำเสนอด้านเงินทุนไหลเข้า และทำให้เงินท่วมประเทศด้านเดียว)

โดยทั่วไป ทางการจะกำหนดให้ใช้เงินบาทในการทำธุรกรรมในประเทศ เมื่อเงินทุนไหลเข้า จึงนำไปแลกเปลี่ยนเป็นบาท (นำไปซื้อบาท) ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ทำให้ดอลลาร์เข้าไปอยู่ในธปท. ทำให้ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้บาทเข้ามาอยู่ในระบบมาก บาทอยู่ในระบบมากๆ ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำ

สาเหตุที่เงินทุนไหลเข้า และทุนสำรองสูงขึ้น

1) จาก Real trade (ธุรกรรมจริง) ได้ดุลการค้า (ส่งออกมากกว่านำเข้า) ได้ดุลการท่องเที่ยว (คนเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากกว่าคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ) ได้ดุลการลงทุน (ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากกว่าคนไทยนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ) ได้ดุลการกู้เงิน (กู้เงินจากต่างชาติมากกว่าต่างชาติมากู้เงินจากไทย ได้ดุลบริจาค (ต่างชาติบริจาคให้ไทยมากกว่าไทยบริจาคให้ต่างชาติ) ฯลฯ การไหลเข้าออกของเงินทุนในส่วนนี้จะทำให้ปริมาณทุนสำรองเบี่ยงเบนไม่มาก

2) จาก Paper trade หรือการซื้อขายในตลาดหุ้น (ธุรกรรมการซื้อขายกระดาษ) จาก การเข้ามาลงทุน และเก็งกำไรในตลาดหุ้น ตลาดเงิน และตลาดเงินตรา เมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจเข้าสู่วงจรขาขึ้น เงินจากต่างประเทศก็จะไหลเข้ามาในประเทศ เข้ามาซื้อหุ้น (ตลาดทุน) และเข้ามาซื้อพันธบัตร (ตลาดเงินและตลาดเงินตรา) แล้วจะมีการสวมรอยปั่นตลาดหุ้นให้ขึ้นสูงสุดๆ แล้วเทขาย การไหลเข้า ของเงินทุนในส่วนนี้จะทำให้ปริมาณทุนสำรองเบี่ยงเบนสูงมาก เข้าก็แรง ออกก็แรง เป็นผลให้เงินท่วมระบบ (และแห้งไปจากระบบง่ายดาย) ที่ส่งผลให้ประเทศไทยและหลายๆ ประเทศต้องเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้ว

3) เกิดนำเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนำ Maintenance margin และ forced sell มาใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2536 (ทำให้ SET ขึ้นสูงสุดในต้นปี 2537 แล้วเทขายหุ้นและบาทออกมา) การเปิดกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 การเปิดตลาดอนุพันธ์ในปี 2547 ในรัฐบาลทักษิณ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการปรับปรุงการคำนวณดัชนี NASDAQ ในปี 1999 ทำให้ดัชนี NASDAQ เกิดความเบี่ยงเบนมากขึ้น ทำให้ NASDAQ ขึ้นสูงสุดในต้นปี 2000 แล้วจากนั้นจึงเทขายหุ้นออกมา และค่าดอลลาร์ก็พังทลายตามตลาดหุ้น

ผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้า บาทแข็งค่า

ผู้ส่งออกได้เงินน้อยลง ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ส่งออกที่นำเข้าวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า บางบริษัททำธุรกิจทั้งนำเข้าและส่งออก ก็อาจจะเสียหายไม่มาก ผู้นำเข้าได้เงินมากขึ้น ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน คือใช้บาทน้อยลงในการซื้อดอลลาร์ไปชำระค่าสินค้า คนฝากเงินรับดอกเบี้ยฝากต่ำ คนกู้เงินจ่ายดอกกู้สูง เงินเฟ้อจะอยู่ระดับต่ำ เพราะการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ราคาน้ำมันมีต้นทุนที่ต่ำลง ดอกเบี้ยติดลบ คือ ดอกเบี้ยฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ผู้ใช้บริการธนาคารต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงขึ้น เมื่อธนาคารมีรายได้จากดอกเบี้ยน้อยลง จึงต้องมาหารายได้จากค่าธรรมเนียม ทำให้ค่าธรรมเนียมต่างๆ สูงขึ้น ราคาสินค้าส่งออกถูกกดดันราคาให้ต่ำลง

ประเทศ ไทยกำลังเผชิญกับภาวะความผิดปกติทางเศรษฐกิจอีกครั้ง สมัยรัฐบาลชวลิต-ชวน 2 ประเทศไทยประสบภาวะเงินแห้งประเทศ บาทอ่อนค่า แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ขณะนี้เผชิญกับภาวะเงินท่วมประเทศ บาทแข็งค่า

indexthai@yahoo.com
http://twitter.com/indexthai

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000144923

14 October 2010

มองปัญหาเงินบาทในมุมกว้าง

คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:34:33 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เรา เผชิญกับ "ปัญหา" การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้พยายามมองหามาตรการเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือจัดการกับการแข็งค่าของเงินบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก ซึ่งเป็นการมองปัญหาที่ไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าทำไมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงไม่แก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด เช่น ตรึงค่าเงินบาทเอาไว้ ผู้ส่งออกจะได้ไม่ได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกัน ก็มีการเสนอให้ ธปท.หยุดปรับขึ้นดอกเบี้ย มิฉะนั้นแล้ว ก็จะมีเงินไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรไทยเพิ่มขึ้นอีก (เพราะดอกเบี้ยโลกอยู่ที่ระดับต่ำ) และหากจะต้องมีมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ก็อย่าทำให้กระทบกับตลาดหุ้น หรือหากจะควบคุม ก็ควบคุมเฉพาะเงินที่ไหลเข้าไปลงทุนตลาดพันธบัตรเพียงอย่างเดียว ซึ่งย่อมทำให้ผู้ประกอบการในตลาดพันธบัตรรู้สึกน้อยใจว่าถูกกระทบแต่ฝ่าย เดียว แต่หากพยายามประติดประต่อพัฒนาการที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลก เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหา แล้วจะสามารถเข้าใจความท้าทายได้อย่างชัดเจนขึ้น

1.ภูมิหลังของปัญหา

คน ส่วนใหญ่จะสรุปว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความโลภของภาค เอกชน (โดยเฉพาะ Wall Street หรือภาคการเงินของสหรัฐ) ฮอลลีวูดจึงได้สร้างหนัง Wall Street ภาค 2 ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกลับชี้ให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐ (โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ) นั้นมีส่วนอย่างมากในการสร้างวิกฤตที่เกิดขึ้น เพราะดำเนินนโยบายกดดอกเบี้ยลงต่ำอย่างต่อเนื่องเกือบ 20 ปี ทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อฟองสบู่ภาคธุรกิจอินเทอร์เน็ตแตกในปี 2000 ก็รีบลดดอกเบี้ยเพื่อลดผลกระทบไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำลงมาก แต่กลายเป็นการสร้างฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์แทนที่ จะเห็นได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าหากเสี่ยงแล้วมีกำไรก็เก็บกำไรเอา ไว้ แต่หากขาดทุนธนาคารกลางก็จะช่วยอุ้มไม่ให้ได้รับความเสียหายมากนัก เสมือนการสร้างเงื่อนไขว่าถ้าแทงหวยแล้วถูกรางวัลก็รับรางวัลทั้งหมดไป แต่ถ้าไม่ถูกเอาเงินคืนได้ครึ่งหนึ่ง

ภาคเอกชนสหรัฐจึงกล้าได้กล้า เสีย เพราะไม่ต้องกลัวเสียหายมาก และวิกฤตครั้งล่าสุด ทางการสหรัฐก็ยังมีพฤติกรรมอย่างเดิม คือกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง (ขาดดุลงบประมาณ 10% ของ จีดีพี หรือ 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) และใช้นโยบายการเงินกดดอกเบี้ยลงใกล้ศูนย์ ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงไม่มาก ทั้งนี้ การอุ้มราคาสินทรัพย์ไม่ให้ลดลง ช่วยให้ธนาคารไม่ต้องตัดหนี้เสียมาก คือไม่ต้องเพิ่มทุนมากนั่นเอง ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับกรณีวิกฤตปี 1997 ของไทย ไอเอ็มเอฟชี้นำให้ไทยปรับขึ้นดอกเบี้ย เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (จาก 7% เป็น 10%) ทำให้ธุรกิจล้มละลาย และราคาสินทรัพย์ปรับลงอย่างมาก (จึงมีคนเคยรวยเป็นจำนวนมาก) ผลคือคนไทยสูญเสียความเป็นเจ้าของ โดยต้องยอมขายหุ้นส่วนหนึ่งให้ต่างชาติ ทำให้ต่างชาติเข้ามามีส่วนเป็นเจ้าของธุรกิจไทยโดยเฉพาะธนาคารและบริษัทขนาด ใหญ่หลายแห่ง

ขณะที่สหรัฐและยุโรปกลับทำตรงกันข้าม คือพยายามอุ้มไม่ให้ราคาสินทรัพย์ลดลง เพื่อรักษาความเป็นเจ้าของ เราจึงไม่เห็นต่างชาติ เช่นเอเชียและตะวันออกกลางเข้าไปเพิ่มทุนธนาคารและบริษัทอเมริกาและยุโรป อย่างที่น่าจะเกิดขึ้น

2.การแก้ปัญหาแบบ "อมโรค"

การกด ดอกเบี้ยลงต่ำเกือบศูนย์นั้น เป็นการไม่ยอมรับความจริงว่าราคาสินทรัพย์ควรปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งการพยุงให้ราคาสินทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่ำ นั่นคือกำไรต่ำ รายได้ต่ำ และจ้างงานต่ำเป็นเงาตามตัว เศรษฐกิจจึงจะไม่ฟื้น หรือฟื้นตัว อย่างเชื่องช้า ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจฟุบตัว เพราะเศรษฐกิจนั้นเหมือนการถีบจักรยาน หากถีบช้าเกินไปก็อาจล้มลงได้โดยง่าย ดังนั้น ธนาคารกลางของอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นจึงต้องการกดดอกเบี้ยลงทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว โดยพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรทุกประเภท (ทั้งของรัฐและเอกชน) ทั้งที่เป็นพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวน่าจะ ยืดเยื้อต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี

ดังนั้น จึงต้องเข้าใจสภาพของเศรษฐกิจโลกใหม่หลังวิกฤตเศรษฐกิจว่าเป็นสภาพที่ธนาคาร กลางของประเทศหลักที่มีสัดส่วน 60% จีดีพีโลกและเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของเงินสกุลหลักของโลก (คือดอลลาร์สหรัฐ ยูโร และเยน) จะตั้งหน้าตั้งตาพิมพ์เงินออกมาอย่างไม่ลดละ เพื่ออุ้มเศรษฐกิจของ ตัวเอง จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาทองคำปรับ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะทองคำกำลังจะกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลกชนิดเดียวที่มีอุปทาน หรือปริมาณผลิตจำกัด

3.ผลกระทบต่อไทยและเอเชีย

สิ่งที่ท้าทาย ประเทศไทย คือเศรษฐกิจเรากำลังจะกลับไปสู่การขยายตัวปกติ เพราะเราไม่ได้เผชิญกับวิกฤตภาคธนาคารที่ต้องมีการตัดหนี้เสียและเพิ่มทุน ธปท.จึงต้องการปรับดอกเบี้ยกลับไปสู่ระดับปกติ เช่นในกรอบนโยบายเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) ของ ธปท.นั้น หากเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ต่อปี ก็ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ 1.75% ไปที่ 3% แปลว่าต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 1.25% แต่ในสภาวะโลกที่ดอกเบี้ยของเงินสกุลหลักอยู่ใกล้ศูนย์ก็จะกระตุ้นให้เงิน ทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่นเมื่อเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลไทย 2 ปี ผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) 2.4% เปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้ ผลตอบแทนเพียง 0.4% ก็น่าจะสรุปได้ว่าเงินทุนจะไหลเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยไม่ต้อง กลัวความเสี่ยง เพราะกำไรแน่ ๆ ทั้งจากส่วนต่างดอกเบี้ยและเงินบาทที่มีแต่จะแข็งค่าขึ้น

ข้อสรุปคือหากโลกเขาจะกดดอกเบี้ยลงต่ำแล้วไทยจะดันดอกเบี้ยให้สูงกว่าของโลกอย่างมากได้อย่างไร

4.หากไม่ขึ้นดอกเบี้ยและแทรกแซงค่าเงินบาท

หาก ธปท.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากที่จะปล่อยให้เกิดปัญหา เงินเฟ้อและฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นในหุ้นหรือภาคอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงแรกนั้นคงไม่มีใครต่อว่า เพราะดูเสมือนทุกคนรวมทั้งรัฐบาลก็จะพอใจที่เศรษฐกิจคึกคักอย่างมาก แต่ความคึกคักจะกลายเป็นความคึกคะนองและฟุ้งเฟ้อได้ในที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

และหากจะเข้าไป แทรกแซงโดยการซื้อเงินดอลลาร์และขายเงินบาทออกมาเพื่อช่วยไม่ให้เงินบาทแข็ง ค่าก็จะเป็นภาระอย่างมากต่อธนาคารกลาง ดังที่ผมเคยเขียนถึงมาแล้วในครั้งก่อนหน้านี้ แต่ที่สำคัญ คือจะต้องเข้าใจว่าสิ่งเกิดขึ้น คือธนาคารกลางเอเชียกำลังซื้อเงินสกุลหลักของโลกเป็น จำนวนมาก คือถือดอลลาร์ เยนและยูโรเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลตอบแทนต่ำมาก เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 2 ปี ได้ดอกเบี้ยเพียง 0.4% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ (ที่ไม่ต้องการลงทุนในประเทศของตนเพราะดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์) ขนเงินมาลงทุนในไทยและเอเชียโดยได้ผลตอบแทนสูงกว่า เท่ากับว่าได้รับการอุดหนุนจากธนาคารเอเชียนั่นเอง

5.ทางเลือกอื่น ๆ

หาก ไม่แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเลย ก็จะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และกระทบต่อธุรกิจส่งออกของไทยอย่างมาก เพราะภาคเศรษฐกิจจริงปรับตัวได้ช้ากว่าการไหลเข้าของเงินทุนที่ทำได้โดย ทันที และเกือบจะไม่มีต้นทุนในการเคลื่อนย้ายเลย การปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วย่อมจะทำให้เงินเฟ้อลดลงอย่างมาก ซึ่งมีผลให้ดอกเบี้ยจริง (ดอกเบี้ยจริงคือ ดอกเบี้ยลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ) ปรับขึ้น และชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจไทยคงจะต้องชะลอตัวลงอย่างมากจนกระทั่งดอกเบี้ยใกล้ศูนย์ของ ประเทศหลักนั้นเหมาะสมกับสภาวะการชะลอตัวของไทยดังกล่าว เว้นแต่ว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะฟื้นตัวทำให้เขาต้องปรับดอกเบี้ย ขึ้น และดอกเบี้ยของเราก็จะสามารถปรับขึ้นตามไปด้วย

และด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการคาดการณ์ว่าในที่สุดธนาคารกลางของเอเชียอาจต้องเลือกมาตรการควบ คุมการไหลเข้าของเงินทุน หากมีเม็ดเงินไหลเข้ามาอย่างมาก เพื่อให้สามารถปรับดอกเบี้ยภายในประเทศขึ้นได้ อันจะเป็นการรักษาวินัยทางการเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กล่าวคือการเข้าไปควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนในสถานการณ์ดังกล่าว สามารถอธิบายเหตุผลได้ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าแม้มีมาตรการดังกล่าว การแข็งค่าของเงินบาทก็น่าจะ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ส่งออกก็จะต้องปรับตัว เพียงแต่จะมีเวลาปรับตัวที่สมเหตุสมผลครับ

09 October 2010

China to Overtake Japan in Global Wealth Rankings?

With China set to overtake Japan as the world’s second largest economy in 2010, the Chinese consumer could also dethrone Japan in another key category in the next few years, according to a new report by Credit Suisse.

In its first Global Wealth Report, Credit Suisse predicts that total household wealth in China could more than double to $35 trillion by 2015 from $16.5 trillion at the moment. China currently is third in terms of the total share of global wealth after the U.S. and Japan, at $54.6 trillion and $21 trillion respectively, and is 35% ahead of France, the wealthiest European country.

A decade ago, China stood at seventh place in the global share of wealth. In the same period, Japan’s wealth only rose by 5%, largely because its adult population growth grew at a negligible 3% while equities and house prices have stagnated.

China has the largest proportion of what Credit Suisse calls the ‘middle segment’, or individuals with $10,000 to $100,000, or 60% of the global total of 1.05 billion people. This group comprises 23.5% of the global population and holds 16.5% of total wealth.

Giles Keating, global head of research for Credit Suisse’s private bank, said that it is this group which will be key in “reshaping the global economy” in the future, particularly as wealthier consumers in emerging markets shift from food to discretionary items.

For example, while food made up 34% of Chinese consumption in 2005, that number is expected to fall to 25% in 2015. Naturally, spending on health care, recreation and transportation is only going to increase.

“China’s investment rate as a percentage of gross domestic product is still at around 40%, which allows for very rapid capital accumulation,” said Keating at a media briefing in Hong Kong.

In contrast, the top 10 countries by level of total household debt are all developed Western economies, with the exception of Japan which is second after the U.S. South Korea has the largest total household debt out of Asian emerging markets at $830 billion, which is 6% of the U.S. level of $13.97 trillion.

– Isabella Steger


http://blogs.wsj.com/chinarealtime/2010/10/08/china-to-overtake-japan-in-global-wealth-rankings/

เครดิต สวิส คาดจีนรวยแซงญี่ปุ่นในปี 2558

รายงาน ความมั่งคั่งโลกของเครดิต สวิส คาดจีนจะแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศร่ำรวยที่สุดอันดับ 2 ของโลกในปี 2558 ผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง


เอเอฟพีรายงานว่า ในการเปิดตัวรายงานความมั่งคั่งโลก เครดิต สวิสคาดการณ์ว่า ความมั่งคั่งรวมในจีนจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวในช่วง 5 ปี โดยพุ่งขึ้น 111% เป็น 35 ล้านล้านดอลลาร์


โดยเมื่อ 10 ปีก่อน จีนเป็นประเทศร่ำรวยอันดับ 7 ของโลก แต่นับแต่นั้นเป็นต้นมา จีนขยับอันดับแซงหน้าประเทศยุโรปสำคัญๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ และคาดว่าจะสามารถแซงหน้าญี่ปุ่นได้ในปี 2558
ปัจจุบัน สหรัฐเป็นประเทศที่ครองสัดส่วนความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก หรือ 27% ของความมั่งคั่ง 195 ล้านล้านดอลลาร์ ตามด้วยญี่ปุ่นที่ครองสัดส่วนความมั่งคั่ง 11% และอันดับ 3 คือจีน 8% ส่วนฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และอังกฤษ รั้งอันดับ 4 ด้วยสัดส่วนความมั่งคั่ง 6%


รายงานฉบับนี้เป็นการเก็บข้อมูลในกว่า 200 ประเทศเมื่อกลางปีนี้
โอ ซามา แอบบาซิ ซีอีโอเครดิต สวิส เอเชีย แปซิฟิก ระบุว่า รายงานฉบับนี้ยืนยันว่าประเทศเอเชีย แปซิฟิก เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตความมั่งคั่งของโลก และเอเชียมีศักยภาพสูงในการเติบโตในอนาคต
ปัจจุบัน ความมั่งคั่งของจีนอยู่ที่ 16.5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือสูงกว่าฝรั่งเศส ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปราว 35% หรือเกือบ 5 เท่าหากเทียบกับอินเดีย


รายงานทำนายว่า รูปแบบการบริโภคในจีนจะเปลี่ยนจากสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร และเสื้อผ้า ไปเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา ดูแลสุขภาพ และที่อยู่อาศัย


นอกจากนี้ คาดว่าความมั่งคั่งจะพุ่งขึ้นในบรรดาตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย แปซิฟิก โดยเฉพาะอินเดีย และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ในปี 2558 คาดว่าความมั่งคั่งของอินเดียจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 6.4 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียจะเพิ่มจาก 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นกว่า 3.0 ล้านล้านดอลลาร์


พร้อมกันนี้ยังพบว่า ปัจจุบัน มหาเศรษฐีในเอเชีย แปซิฟิก มีจำนวนมากกว่าในยุโรป โดยจากจำนวนมหาเศรษฐีกว่า 1,000 คนทั่วโลก 500 คนอยู่ในอเมริกาเหนือ 245 คนอยู่ในเอเชีย แปซิฟิก และ 230 คนอยู่ในยุโรป


วันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 06:42:21 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

บาทแข็งขยี้เอสเอ็มอี ปรับกระบวนทัพก่อนเจ๊ง

เงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 9% ขึ้นมาอยู่ที่ 30.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

ที่มา...ทีมข่าวการเงิน โพสต์ทูเดย์

เงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 9% ขึ้นมาอยู่ที่ 30.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

มีการตั้งข้อสังเกตว่า ใครที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่า และผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจริงหรือ ทั้งที่ตัวเลขการส่งออกยังเติบโตต่อเนื่อง แม้กำไรจะปรับตัวลดลง

ส่วนฟากผู้นำเข้าได้ใช้โอกาสนี้นำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่??

รายงานวิเคราะห์ภาวการณ์ส่งออก นำเข้าของไทย ประจำเดือนส.ค. 2553 ของกระทรวงพาณิชย์ มีความชัดเจนส่วนหนึ่งว่า ผู้ประกอบการก็ได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า

โดยตัวเลขเดือน ส.ค. การนำเข้ามีอัตราการเติบโตสูงกว่าตัวเลขการส่งออก แต่ก็มีผู้ส่งออกที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ส่งออกข้าว เพราะประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา

ในรายงานระบุว่า มูลค่าการส่งออกเดือนส.ค. มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 โดยมีมูลค่า 16,452 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.9% เป็นการสูงขึ้นของทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้น 14%

ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญเพิ่มขึ้นถึง 26.1% เป็นการส่งออกไปยังตลาดหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ถึง 31.2% ส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูง เช่น อินเดีย และอาเซียน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ถึง 44.3%

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้สิทธิข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ทำให้การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และมูลค่าเช่น ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็งกระป๋องและแปรรูป

ส่วนสินค้าที่ลดลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ได้แก่ ข้าว เนื่องจากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับประเทศเวียดนาม ปากีสถาน และอินเดีย รวมทั้งปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท

ด้านการนำเข้าเดือน ส.ค. มีมูลค่า 15,809 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41.1% เป็นการขยายตัวในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป กลุ่มสินค้าทุน และกลุ่มยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่ง

แสดงให้เห็นถึงนักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และความชัดเจนของการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยเฉพาะเครื่องจักร และส่วนประกอบ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และขยายการผลิต

การขยายตัวของภาคการส่งออก ส่งผลให้เดือนส.ค. ไทยได้ดุลการค้า 643 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ไทยได้ดุลการค้ารวม 6,081 ล้านเหรียญสหรัฐ

นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคและการลงทุน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศปริมาณการส่งออกมากกว่านำเข้า สะท้อนจากดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล

ดังนั้นหากมองผลของเงินบาทที่แข็งค่า กลุ่มผู้ส่งออกหลายกลุ่มจะเริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้น

อย่างไรก็ตามแม้การส่งออกจะมีสัดส่วน 60% ของจีดีพี แต่ไม่ใช่ผู้ส่งออกทั้งหมด 60% ที่ได้รับผลกระทบในทางลบ เพราะในจำนวนนี้จะมีผู้ส่งออกที่ใช้วัตถุดิบทั้งในประเทศ และผู้ส่งออกที่ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ หมายถึงมีการนำเข้าสินค้าด้วย ซึ่งตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วง 7 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 67% ขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 60% แต่หากเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตอัตรากำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 78% เท่ากับว่าตัวเลขขณะนี้ดีขึ้น เหมาะแก่การลงทุน และนำเข้าสินค้า

แม้ตัวเลขกำลังการผลิตจะไม่พุ่งสูงมากนักเมื่อเทียบจากปีก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นทิศทางที่ดี เพราะฐานการกำลังการผลิตใหญ่ขึ้น ตัวหารที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ตัวเลขเฉลี่ยออกมาไม่สูงมากนัก ทั้งที่ช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนในปริมาณที่มากพอควร เห็นได้จากบริษัทรถยนต์ที่ลงทุนในไทยมีการขยายโรงงานอย่างต่อเนื่อง

“เดือน ส.ค. และ ก.ย. เป็นช่วงที่เริ่มเห็นเงินบาทแข็ง ฉะนั้นตัวเลขผลกระทบในเชิงกำไรของผู้ประกอบการจะเห็นชัดในไตรมาสหน้า ตอนนี้ยังไม่เห็นตัวเลข แต่เสียงสะท้อนจากภาคธุรกิจเริ่มกระทบแล้ว จากที่คุยกับผู้ประกอบการบางราย ตอนนี้มาร์จินบางมาก ทั้งกลุ่มสิ่งทอ และอาหารส่งออก มีการพูดแล้วว่า ถ้าเงินบาทแข็งอย่างนี้ไม่รับคำสั่งซื้อตอนนี้ยังดีกว่า เพราะขาดทุน แต่จะทำอย่างนั้นก็ไม่ได้ เพราะธุรกิจต้องดำเนินต่อไป ตอนนี้ภาพของผู้ประกอบการจึงไม่ค่อยรับคำสั่งซื้อล่วงหน้ายาว จากเดิมรับล่วงหน้า 3-6 เดือน แต่ตอนนี้รับเพียง 1 เดือนเพราะเก็งไม่ถูกว่าค่าเงินจะเป็นอย่างไร” นางพิมลวรรณ กล่าว

นางพิมลวรรณ กล่าวว่า ตัวเลขกระทรวงพาณิชย์ที่ออกมา มีการนำเข้าสูงมากกว่าที่คาด ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากเงินบาทแข็ง เพราะสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาถูก แต่หากหักกลบแล้ว ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อประเทศ คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะการแข็งค่าของเงิน ทำให้กำไรลดลง และลูกค้ากลุ่มนี้มีปริมาณการส่งการออกที่ไม่ได้มากถึงขั้นมีทุนมากพอจะซื้อ ป้องกันค่าเงินล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) เมื่อเทียบกับผู้ส่งออกขนาดใหญ่

สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีนั้น มองว่ารัฐบาลควรหาทางช่วยเหลือ เช่น อาจมีการตั้งกองทุนช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากค่าเงินบาท เพื่อช่วยให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีทุน และเข้าถึงการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินได้

รวมถึงรัฐบาลอาจให้ธนาคารของรัฐเข้ามาช่วยเหลืออีกแรงก็ได้ เพราะหากเงินบาทแข็งค่าทะลุ 30 บาท ก็ยิ่งน่าเป็นห่วง หากถึงจุดนั้น ก็ต้องกลับไปถามว่าผู้ประกอบการจะทำอย่างไร รัฐบาลจะทำอย่างไร เพราะนี่คือความกังวลของผู้ประกอบการที่ขณะนี้ต่างพยายามหาทางออกด้วยตัวเอง เพื่อประคองธุรกิจให้ปรับตัวต่อไป

ขณะที่อุตสาหกรรมของไทย โดยเฉลี่ยแล้วใช้วัตถุดิบ และแรงงานในประเทศ (Local Content) รวมประมาณ 45-50% ซึ่งเงินบาทที่แข็งค่าทุก 1 บาท จะทำให้รายได้ของธุรกิจหายไป 1.5-2% ตัวเลขนี้เป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม แต่ถ้าอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก อาจจะกระทบทำให้รายได้หายไปเกือบ 3% ซึ่งหากธุรกิจมีมาร์จินต่ำ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไปอีกจะทำให้ธุรกิจมีกำไรเหลือน้อยมาก

แต่การดำเนินธุรกิจ ค่าเงินอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กำหนดความสามารถในการแข่งขัน เพราะทิศทางในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า เงินบาทก็จะยังแข็งค่า เนื่องจากทิศทางเงินเหรียญสหรัฐจะยังอ่อนค่าต่อไป จนกว่าจะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว และธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) หันกลับมาปรับขึ้นดอกเบี้ย

ดังนั้นผลของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดตอนนี้ คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ผลิตรายเล็กที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งขณะนี้ต้องดิ้นหาทางอยู่รอดด้วยตัวเอง ไม่ใช่ผู้ส่งออกขนาดใหญ่ที่มีสายป่านยาวกว่า

สำรวจนักค้าเงิน..."28 บาท"... มีโอกาสเห็น



ค่าเงินบาทวานนี้ เคลื่อนไหวที่ระดับ 29.87-29.88 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางปริมาณธุรกรรมที่ค่อนข้างหนาแน่นจากทั้งผู้ส่งออก เงินทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร รวมถึงการเข้ามาดูแลเงินบาทของ ธปท.ด้วย

ทั้งนี้ค่าเงินบาทที่ ไม่แข็งค่าอย่างรุนแรงมากในช่วงวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังลังเล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า จะมีการหารือกับผู้ว่าการ ธปท.ถึงการแข็งค่าของเงินบาท ขณะที่การดัชนียังติดลบ 8 จุด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินบาทยังคงแข็งค่าได้อีก โดยมีจุดทดสอบระดับต่อไปอยู่ที่ 29.60 บาทต่อดอลลาร์ และ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ ในสัปดาห์หน้า ซึ่งความเคลื่อนไหวเงินบาทในระยะนี้ คาดว่าจะไม่แข็งค่ารุนแรงมากนัก เนื่องจากนักลงทุนต้องการรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐในวันศุกร์นี้ก่อน ส่วนในวันพรุ่งนี้คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาท "กรุงเทพธุรกิจ" ได้สำรวจนักค้าเงิน ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าได้อีก

ภาณพ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารเงิน ธนาคารกรุงไทย เชื่อว่า หากไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา ก็เชื่อว่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้อีก โดยมีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทไปถึงระดับ 29.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ในเร็วๆ นี้ และคาดว่าในสิ้นปีนี้มีโอกาสที่จะเห็น 28.00-28.50 บาทต่อดอลลาร์ได้ สาเหตุหลักมาจากดุลการค้าที่ยังคงเกินดุล ขณะที่เงินทุนที่ยังคงไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการที่ได้พบกับนักลงทุน ยังเห็นความต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศอยู่อีกมาก หลังจากที่ทางเลือกในการลงทุนในตลาดสหรัฐและยุโรป ยังมีข้อจำกัดอยู่นักลงทุนต้องการกระจายการลงทุนมายังประเทศในแถบเอเชีย ที่ยังมีความผันผวนน้อย และความเสี่ยงต่ำ

ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 ต.ค.นี้นั้น เชื่อว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะอาจจะทำให้เงินบาทแข็งค่าได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางค่าเงินบาทใน ขณะนี้ โดยปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่ายังมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีการเกิดดุลการ ค้าตลอด ดังนั้น ไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นหรือไม่ ต่างชาติก็ยังเห็นโอกาสในประเทศไทยที่ยังมีความผันผวนน้อย น่าจะกระจายพอร์ตการลงทุนมาได้ ยิ่งอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยกับสหรัฐและไทยกับญี่ปุ่นกว้างขึ้น ทำให้นักลงทุนที่อยากมาอยู่แล้ว ต้องการเข้ามาลงทุนมากขึ้น

"หากไม่มีความเสี่ยงด้านการเมืองเกิดขึ้น หรือมีมาตรการควบคุมเงินทุนออกมา ที่จะทำให้นักลงทุนเปลี่ยนมุมมองในค่าเงินบาทได้ ก็ยังเห็นโอกาสที่เงินบาทจะแข็งค่าได้อีก ยิ่งตลาดรู้ว่าไม่ได้เอาจริงก็เลยไปแรง ด้วยระดับการแข็งค่าแบบนี้จะเห็น 29 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนสิ้นปีแน่นอน ส่วนมาตรการควบคุมเงินทุนเชื่อว่าคงไม่เกิด เพราะทำลายบรรยากาศโดยรวม"

ในส่วนของเป้าหมายการดูแลเงินเฟ้อนั้น เชื่อว่า ธปท.จะให้น้ำหนักกับการดูแลค่าเงินบาทก่อน เนื่องจากไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรเงินบาทก็ยังคงแข็งค่าอยู่ดี หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้แล้วค่าเงินบาทแข็ง ค่าไปอีก ธปท.ก็ถูกโจมตีหนักขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยที่รอได้โดยเฉพาะการที่เงินบาทแข็งค่า ทำให้ความกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อมีน้อยลง เพราะการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันมีต้นทุนที่ถูกลง ดังนั้น หาก ธปท.ห่วงเรื่องอัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบก็ยังสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมรอบสุดท้ายของปีนี้ก็ยังได้

"ไม่ว่า ธปท.จะตัดสินใจอย่างไรก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง หากขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วเงินบาทแข็งค่าทั้งที่ก็ต้องแข็งอยู่แล้ว แต่ก็จะกลายเป็นแพะที่ถูกกล่าวโทษได้ เพราะตอนนี้กระแสแรงเหลือเกิน ไม่ขึ้นดอกเบี้ยบาทก็แข็ง แต่ยิ่งขึ้นก็ยิ่งแข็งเร็ว จึงเชื่อว่าในครั้งนี้ ธปท.คงไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่จะรอดูผลของค่าเงินที่จะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อว่าจะดีขึ้นหรือไม่ค่อยไป ปรับครั้งหน้า"

โดยที่ผ่านมา ธปท.เข้ามาพยุงค่าเงินบาทใน ปริมาณที่สูงมาก เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 แสนล้านบาท และมีฟอร์เวิร์ดอีก 1 หมื่นกว่าล้านบาท เพิ่มสูงมาก จากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่ทุนสำรองเราแทบจะติดลบ

สุธีร์ โล้วโสภณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านบริหารเงินและค้าผลิตภัณฑ์การเงิน สายบริหารเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า มีโอกาสที่ ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้และหยุดไปพักหนึ่ง แม้จะได้รับแรงกดดันจากภาคเอกชน เนื่องจาก ธปท.เป็นองค์กรที่มีอิสระในการตัดสินใจ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยให้เงินเฟ้อลดลงได้ในส่วนหนึ่ง ประกอบกับแนวโน้มการส่งออกที่จะชะลอตัวในช่วง 3-6 เดือนนับจากนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ความกังวลด้านเงินเฟ้อลดลง โดยมองว่าค่าเงินบาทมีโอกาสแตะระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ ในสิ้นปีนี้

"การแข็งค่าของเงินบาทเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถห้ามได้ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีการส่งออกมากกว่านำเข้า ทำให้เงินต่างประเทศต้องไหลเข้า หากอัตราดอกเบี้ยเราสูงกว่าก็มีผลในส่วนหนึ่ง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะเห็นว่า ธปท.ได้เข้าไปช่วยพยุงไว้ให้แล้วดูจากทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 แสนล้านบาท แต่ไม่สามารถฝืนความจริงได้ว่าเศรษฐกิจไทยดี การส่งออกโตดี แต่การทุ่มซื้อดอลลาร์ ของ ธปท.ทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะทุกบาทที่เปลี่ยนแปลงไปหมายถึงผลขาดทุนที่ ธปท.ต้องแบกรับ"

ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกจะต้องปรับตัวเองหาตลาดใหม่ๆ และค้าขายในสกุลเงินอื่นๆ รวมถึงการมองหาโอกาสในการซื้อเครื่องจักรใหม่มาปรับปรุงประสิทธิภาพ เพราะหากจะพึ่งแค่อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะทำได้ลำบาก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากค่าเงินบาทปรับ ตัวแข็งค่าไปถึงจุดจุดหนึ่ง เศรษฐกิจจะต้องปรับสมดุลตัวเอง โดยการส่งออกจะชะลอลง การนำเข้าจะเพิ่มขึ้น แต่ระหว่างทางจะเห็นความเจ็บปวดจากภาคการส่งออกบ้าง

"ในการปรับสมดุลเศรษฐกิจอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวรับความผันผวน ผู้ส่งออกต้องบริหารความเสี่ยงปรับการผลิต และหาทางลงทุนต่างประเทศ แต่ความผันผวนที่มีมากขึ้น ผู้ส่งออกเองก็ต้องระมัดระวังให้ดี แม้เงินบาทจะแข็งค่าวันนี้ เมื่อถึงจุดจุดหนึ่ง หากเงินบาทกลับตัวไปอีกข้างความผันผวนจะรวดเร็ว หากปรับตัวไม่ดีก็มีโอกาสขาดทุนสูง"

ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในขณะนี้ ตลาดกำลังมองการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในครั้งต่อไปว่าจะใช้มาตรการการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐ (QE) อีกครั้ง โดยถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์ ในระยะกลาง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา การคาดการณ์เรื่องดังกล่าว ทำให้ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น และค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่าลง โดยตลาดคาดการณ์เฟดจะใช้เม็ดเงินประมาณ 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในครั้งนี้ และหากอยู่ในระดับนี้ดอลลาร์จะไม่อ่อนค่าลงมากนัก ส่วนความเคลื่อนไหวของเงินบาทคาดว่า ธปท.จะดูแลให้สอดคล้องกับภูมิภาค

ที่มา bangkokbiznews.com

Sponsor