25 March 2011

Asian Stocks Rise as Construction Companies Gain on Japan Quake Rebuilding

Asian stocks rose, set for the biggest weekly gain since November, as construction firms gained on optimism for orders when Japan rebuilds after its worst earthquake, and amid signs the U.S. economy is strengthening.

Komatsu Ltd., the world’s No. 2 maker of construction machinery, gained 4.7 percent in Tokyo. Comsys Holdings Corp., which designs and constructs phone and power facilities, jumped 6.3 percent. Hynix Semiconductor Inc., the world’s second- largest maker of computer-memory chips, advanced 2.8 percent in Seoul after U.S. unemployment claims dropped. Bank of China Ltd. (3988) gained 2.6 percent in Hong Kong after earnings beat estimates.

The MSCI Asia Pacific Index rose for a fourth day this week, advancing 0.6 percent to 134.05 as of 6:03 p.m. in Tokyo. About two stocks increased for each that fell. The index is headed for a 4 percent weekly gain after it last week recorded its biggest drop since the height of the European debt crisis in May, as Japan fought to avert a post-earthquake nuclear disaster at a damaged reactor, and after tensions escalated in Libya.

Parts of the U.S. economy are “still doing quite well,” said Stephen Halmarick, Sydney-based head of investment markets research at Colonial First State Global Asset Management, which oversees about $150 billon. “We’ve seen some return to some risk trades after the tragic events in Japan and increases in the oil price.

“Clearly, the global economy is still in recovery mode and we’re going to get relatively decent growth through this year and next,” Halmarick told Bloomberg Television today.

‘Steadily Recovering’

Japan’s Nikkei 225 Stock Average gained 1.1 percent. South Korea’s Kospi Index and Australia’s S&P/ASX 200 Index increased 0.9 percent, and Hong Kong’s Hang Seng Index rose 1.1 percent.

“The U.S. economy is steadily recovering,” said Toshiyuki Kanayama, a market analyst at Tokyo-based Monex Inc.

Futures on the Standard & Poor’s 500 Index increased 0.4 percent today. The index advanced 0.9 percent yesterday in New York after corporate profits topped analysts’ estimates and figures from the Labor Department showed jobless claims declined by 5,000 to 382,000 in the week ended March 19, in line with the median forecast of economists surveyed by Bloomberg News.

A separate Commerce Department report showed orders for long-lasting goods unexpectedly fell in February, raising concern over the sustainability of the rebound in U.S. business investment.

Japanese Builders

“The fall in U.S. weekly jobless claims was encouraging,” said Tim Schroeders, a Melbourne-based money manager at Pengana Capital Ltd., which manages about $1 billion. “However, a fall in U.S. durable goods new orders was disappointing.”

The MSCI Asia Pacific Index dropped 3.3 percent this year through yesterday. The S&P 500 increased 4.1 percent and the Stoxx Europe 600 Index was little changed. Stocks in the Asian benchmark were valued at 13.4 times estimated earnings on average, compared with 13.5 times for the S&P 500 and 11.1 times for the Stoxx 600.

Komatsu, Japan’s largest maker of construction machinery, climbed 4.7 percent to 2,795 yen in Tokyo. Comsys Holdings surged 6.3 percent to 827 yen. Daisue Construction Co. jumped 4.1 percent to 102 yen.

The Nikkei 225 (NKY) fell 8 percent from March 11 through yesterday, the biggest decline among indexes for the world’s largest equity markets, after an earthquake and tsunami killed thousands of people, razed homes and factories and crippled the Fukushima nuclear-power station northeast of Tokyo.

‘Nuclear Issues’

“Unless there’s bad news related to nuclear issues, we can expect stocks will be bought back,” Monex’s Kanayama said.

Hynix added 2.8 percent to 29,900 won in Seoul as the U.S. employment figures bolstered evidence the labor market in the world’s largest economy is recovering.

In Tokyo, Toyota Motor Corp., the world’s biggest carmaker, advanced 1.9 percent to 3,275 yen as the company said it will resume production of hybrid models in Japan on March 28.

Rio Tinto Group, the world’s No. 2 mining company by sales, gained 0.5 percent to A$82.02 in Sydney on optimism demand for raw materials will climb as a global economic recovery strengthens. Mitsubishi Corp., Japan’s biggest commodities trader, added 1.9 percent to 2,310 yen.

Woodside Petroleum Ltd. (WPL) rose 2.6 percent to A$46.72 in Sydney amid speculation Australia’s second-largest oil and gas producer may arrange an assets-for-shares swap with its biggest stockholder, Royal Dutch Shell Plc.

Bank of China, the nation’s No. 3 lender by market value, rose 2.6 percent to HK$4.27 in Hong Kong after posting a 29 percent increase in full-year net income, beating estimates. China Construction Bank Corp. gained 2 percent to HK$7.32 ahead of the release of its full-year results today.

To contact the reporter on this story: Shani Raja in Sydney at sraja4@bloomberg.net.

To contact the editor responsible for this story: Nick Gentle at ngentle2@bloomberg.net.

www.bloomberg.com

16 March 2011

เก็งกำไรล่วงหน้าทำราคายางดิ่งเหว สหกรณ์สวนยางทั่วปท.เจ๊งหมื่นล้าน



เก็งกำไรตลาดล่วงหน้าพ่นพิษ ราคายางพาราดิ่งเหวร่วงเกือบ 100 บาท/ก.ก. สหกรณ์ชาวสวนยาง-พ่อค้าที่แห่สต๊อกยางเจ๊งระนาว ด้าน ชสยท.ฟันธงทั่วประเทศอ่วมขาดทุน 10,000 ล้าน สหกรณ์หยุดซื้อน้ำยางสด บริษัทขนาดใหญ่สต๊อกท่วมโรงงาน ด้านประธานหอการค้าสุราษฎร์ฯระบุ ถ้าราคายางดิ่งเหลือ 50 บาท/ก.ก. กระทบการผ่อนส่งค่างวดรถแน่ ขณะที่ สกย.สรุปยอดเกษตรกรแห่ขอปลูกยางพื้นที่ใหม่เฉียด 2 ล้านไร่ เกินเป้าที่ตั้งไว้ 3 ปี แค่ 8 แสนไร่



สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้วิเคราะห์สถานการณ์ราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ ผ่านมาว่า เป็นการลดลงในทิศทางเดียวกับราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียว-สิงคโปร์ เนื่องจากเหตุการณ์ความตึงเครียดในลิเบียและตะวันออกกลาง ประกอบกับจีนชะลอการซื้อและนำยางในสต๊อกมาใช้ เพื่อรอให้ราคายางปรับตัวลดลง

ขณะที่พ่อค้าคนกลางยังคงระบายสินค้าออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเกรงว่าราคายางจะปรับลงอีก โดยวิเคราะห์ได้จากสต๊อกยางลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 65,532 ตัน (วันที่ 31 ม.ค. 54) มาอยู่ที่ 46,730 ตัน (วันที่ 7 มี.ค. 54) หรือลดลงร้อยละ 28.69 โดยราคาส่งออกยางแผ่นในช่วงนี้อยู่ที่ 150 เหรียญ FOB/ตัน ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงมา ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมาที่ระดับราคา 172 เหรียญ FOB/ตัน หรือเพียง 1 สัปดาห์ลดลงไปถึง 22 เหรียญ/ตัน

แนว โน้มราคายางในช่วงวันที่ 14-18 มีนาคมจะปรับตัวลดลงไปอีก จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศญี่ปุ่น และผู้ประกอบการในไทยยังคงชะลอการซื้อ เพราะมีสินค้าจำนวนมากในโรงงานที่ยังไม่สามารถขายออกได้ ขณะที่จีนและอินเดียยังคงชะลอซื้อเพื่อรอให้ราคาต่ำลงอีก

นางสมศรี แก้วสลับนิล ฝ่ายบัญชีสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหูแร่ จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ปัจจุบันราคาน้ำยางสดที่สหกรณ์รับซื้อลงมาเหลือ 70 บาท/กิโลกรัม ทำให้ขาดทุนไปแล้วกว่า 700,000 บาท สหกรณ์จึงหยุดรับซื้อน้ำยางสดตั้งแต่ วันนี้ (15 มี.ค.) เป็นต้นไป เพราะแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว

"สมาชิก สหกรณ์ในกลุ่มของเรามีประมาณ 100 รายที่ทำสวนยางต่างก็หยุดกรีดยางกันแล้วเพราะสู้ราคาตกต่ำไม่ไหว คงต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป 1 เดือน" นางสมศรีกล่าว

ด้านนางพวงเพ็ญ พุทธรรมรงค์ เจ้าของกิจการรับซื้อน้ำยางสดและเศษยางในพื้นที่ ต.ปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ราคายางพาราตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยรับซื้อน้ำยางสดรับ 65 บาท/ก.ก. เศษยาง 20-30 บาท/ก.ก. โดยพ่อค้าแม่ค้าพยายามซื้อในราคาที่ ต่ำที่สุดเท่าที่จะซื้อได้ เนื่องจากโรงงานขนาดใหญ่ไม่เปิดราคายางโรงงานมา 2 วันแล้ว ทำให้ร้านขนาดเล็กไม่สามารถกำหนดราคาขายได้ จึงต้องซื้อราคาต่ำไว้ก่อน ซึ่งราคายางที่ตกลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มีผลผลิตยางตกค้างอยู่ในมือชาวสวน และร้านรับซื้อเป็นจำนวนมาก

"ใน ช่วงที่ราคายางแผ่นสูงถึง 180 บาท ต้องใช้เงินหมุนเวียนหน้าร้านวันละ 300,000 บาท แต่ขณะนี้เบิกเงินสดมา 100,000 บาทสามารถซื้อน้ำยางและเศษยางได้ 2-3 วัน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยนำยางออกมาขาย เพื่อรอให้ราคาขึ้นสูงกว่านี้ก่อน"

ด้าน นายสมมาตร แสงประดับ นักเศรษฐกรชำนาญการ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเสถียรภาพราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ภาวะราคายางผันผวน เป็นผลมาจากการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า ส่งผลให้พ่อค้ายังไม่นำผลผลิตที่ซื้อไว้ออกมาขาย และโรงงานไม่ยอมรับซื้อผลผลิตยาง เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน จึงเก็บสินค้าไว้เพื่อรอดูสถานการณ์ด้านราคาก่อน

ส่วนสถานการณ์ภัย พิบัติในญี่ปุ่น ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดยางพาราในบ้านเรามากนัก ถ้าหากญี่ปุ่นสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้รวดเร็ว และมีเงินอัดฉีดเข้าระบบ โดยตลาดส่งออกหลักของยางไทย ยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ส่วนญี่ปุ่น ไทยส่งออกยางไม่ถึง 20%

"ราคายางพาราที่ควร จะเป็นควรจะอยู่ที่ 100 บาท บวกลบไม่เกิน 20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่มีเสถียรภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาด หลังจากนี้ในระยะเวลาอันใกล้ ราคายางอาจขยับตัวสูงขึ้นได้อีก แต่คงไม่กลับไปยืนที่ราคา 180 บาท/ก.ก. ยกเว้นกรณีเกิดภัยแล้งยาวนานจนไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาด" นายสมมาตรกล่าว

นาย ทวี พรหมสังคะหะ ประธานชุมนุมสหกรณ์สวนยางจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ได้รับผลกระทบมากจากราคายางที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม ทำให้เงินหายไป 30 ล้านบาท ทั้งนี้หากรวมสหกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อยอีกราว 100 แห่ง สูญเสียรายได้ประมาณ 100 ล้านบาท

สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ก็อยู่ในสภาพ ยางล้นสต๊อก มีโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราไม่น้อยกว่า 3 แห่งใน จ.สงขลาไม่รับซื้อยางแล้ว เพราะส่งออกไม่ได้ ซึ่งแนวโน้มราคายางน่าจะลงมาอีก คาดว่าจะไต่อยู่ที่ 60 บาท/ก.ก. แต่หากราคาสินค้าอื่น ๆ ไม่ลดลง ต้องประสบปัญหาหนักแน่นอน

ด้านนาย เอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ราคายาง 90 บาท/ก.ก. เป็นราคาที่เกษตรกรยังอยู่ได้ ไม่ถือว่าเลวร้าย และเป็นราคาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาด ส่วนการซื้อรถป้ายแดงจำนวนมากซึ่งเป็นผลมาจากราคายางสูงในช่วงที่ผ่านมา จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผ่อนส่งค่างวดรถ แต่ถ้าราคายางตกลงไปเหลือ 50 บาท/ก.ก. จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

ขณะที่นายเพิก เลิศวางพงศ์ ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า ราคายางพาราที่ร่วงลงมา ทำให้สถาบันเกษตรกร ผู้ค้าขนาดเล็ก ขนาดกลางและรายย่อยทั่วประเทศ ขาดทุนไปแล้ว 10,000 ล้านบาท โดยเฉพาะสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรีที่ตนเป็นประธานกลุ่ม ประสบภาวะขาดทุนประมาณ 60 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 6 ล้านบาท และอีก 4 สหกรณ์ ขาดทุนประมาณ 120 ตัน มูลค่า 12 ล้านบาท ปัจจุบันสหกรณ์ของ ชสยท.มีประมาณ 418 แห่ง ต่างประสบภาวะวิกฤตทั้งหมด

"ผมได้เรียกประชุมหน่วยงาน ธุรกิจเพื่อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ เพื่อยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 มี.ค.นี้ พร้อมระดมตัวแทนเกษตรชาวสวนยางทั่วประเทศกดดันให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาโดย เร็วที่สุด"

ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อหารือเรื่องปัญหาราคายางในวันที่ 21 มีนาคมนี้ โดยมีข้อเสนอให้โรงงานขยับราคารับซื้อยางแผ่นเพิ่มขึ้น รวมถึงให้หยุดการส่งออกยางเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

ส่วน การยื่นขอรับการสงเคราะห์โครงการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ระยะที่ 3 (2554-2556) ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้สรุปยอดการยื่นขอรับการสงเคราะห์ ปรากฏมีเกษตรกรยื่นขอรับการสงเคราะห์รวมทั้งสิ้น 208,726 ราย เนื้อที่ 1,888,446.99 ไร่ เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 800,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ภาคเหนือ 28,475 ราย เนื้อที่ 244,105.65 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 168,746 ราย เนื้อที่ 1,523,014.92 ไร่ ภาคใต้ 4,615 ราย เนื้อที่ 38,328.42 ไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 6,890 ราย เนื้อที่ 82,998 ไร่


วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประชาชาติธุรกิจ

ญี่ปุ่นทุ่มซื้ออาหารกู้วิกฤต "รับเหมา-พลังงาน-ปิโตรเคมี"ได้อานิสงส์ ราคา-กำไรพุ่งแน่

สำรวจ ผลบวก-ลบธุรกิจไทย กลุ่มไหนได้-เสียจากแผ่นดินไหว-สึนามิญี่ปุ่น เผยกลุ่มหลักส้มหล่นมีทั้ง "พลังงาน-ปิโตรเคมี-อาหาร-รับเหมา" ราคา-กำไรพุ่งแน่ ขณะที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขาดหนัก กระทบ "สมาร์ทโฟน" ค่ายรถยนต์หวั่นส่งมอบรถช้า หุ้นไทยร่วงหนักต่ำกว่า 1,000 จุด ส่วนเจโทรยันการลงทุนญี่ปุ่นยังมาไทย บีโอไอพร้อมหนุน


"ประชา ชาติธุรกิจ" ได้สำรวจความคิดเห็นจากภาคธุรกิจต่าง ๆ ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งลบและบวกจากแผ่นดินไหวและสึนามิของญี่ปุ่น โดยนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากนี้ไปอีก 6 เดือน-1 ปี อาจมีผลกระทบเชิงบวกกับธุรกิจ 3 หมวด ได้แก่ 1.ราคาพลังงาน 2.ราคาปิโตรเคมีจะปรับสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจโรงกลั่นจะได้ประโยชน์ หลังจากญี่ปุ่นจำเป็นต้องหยุดเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันรวม 6 โรง รวมกำลังการผลิต 25% และหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3.มีการนำเข้าอาหารมากขึ้น โดยพื้นที่เพาะปลูกถูกคลื่นสึนามิพัดไปไกลกว่า 100-200 กิโลเมตร

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นตรงกันว่าญี่ปุ่นจะนำเข้าอาหารมากขึ้น โดยสินค้าไทยซึ่งส่งไปญี่ปุ่นปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท แต่ต้องรอให้การจัดการท่าเรือในญี่ปุ่นสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์นี้ ไม่เช่นนั้นจะกระทบการเก็บและขนส่งสินค้าประเภทปศุสัตว์และอาหารทะเล

ด้าน นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้การส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นได้รับการยืนยันแล้วว่าท่าเรือเซนไดหยุด ดำเนินการ 2 สัปดาห์ ส่วนท่าเรืออื่น ๆ เปิดปกติ

ขณะที่นายสุวิทย์ มโนมัยยานนท์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจรับเหมาครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทคงจะเข้าไปรับงานซ่อมแซม บูรณะโครงสร้างพื้นฐาน อาคารบ้านเรือนอีกเป็นจำนวนมาก ความต้องการใช้สินค้าเหล็ก ซีเมนต์ในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น

ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป่วน

นาง สาวทิฆัมพร เปรมอยู่ ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท สีมาเทคโนโลยี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป้อนให้กับ NEC และ Panasonic ของญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย กล่าวว่า ตอนนี้บริษัทติดต่อกับทางญี่ปุ่นที่จัดส่งชิ้นส่วนเพื่อนำมาผลิตสินค้าไม่ ได้ จากเดิมต้องนำเข้าชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น 80-90% ล่วงหน้าเพียง 1-2 เดือนเท่านั้น ไม่เพียงพอกับการผลิตในระยะยาว หากยังติดต่อไม่ได้ภายใน 1-2 วันนี้ บริษัทก็ต้องตัดสินใจหยุดสายการผลิตชิ้นส่วนออกไปก่อน 1 สายการผลิต ซึ่งใช้คนงาน 40-50 คน ปลายสัปดาห์นี้น่าจะสรุปได้ว่ามูลค่าความเสียหายมีมากน้อยเพียงใด

ด้านนายสุรสีห์ แห่งศรีสุวรรณ

ผู้ อำนวยการโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร (นครราชสีมา) เปิดเผยว่า บริษัทต่าง ๆ ยังคงมีสต๊อกสินค้าเก่าไว้พอใน 1-2 เดือนข้างหน้า และคาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับออร์เดอร์ อาจจะส่งผลในระยะสั้น

หวั่นราคาชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนพุ่ง

สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ญี่ปุ่นเป็นแหล่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์สัดส่วน 20% ของกำลังการผลิตทั่วโลก, 15% ของการผลิต DRAM ทั่วโลก และกว่า 40% ของชิปเมโมรี่ที่ใช้งานบนแท็บเลต สมาร์ทโฟน กล้อง และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ล้วนผลิตจากโรงงานในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตหน้าจอดิสเพลย์ที่ใช้บนสมาร์ทโฟน แท็บเลต ที่สำคัญของโลก คาดว่าจะทำให้โรงงานเผชิญกับปัญหาซัพพลายสินค้าลดลงอย่างรวดเร็ว และยังทำให้ราคาเมโมรี่ชิปสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าสินค้าจะขาดตลาดและความไม่แน่นอนของระบบซัพพลายเชน

โดย เฉพาะโตชิบาเป็นหนึ่งในผู้ผลิต NAND แฟลชเมโมรี่ชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ป้อนชิ้นส่วนให้กับสินค้าของแอปเปิล เช่น ไอโฟน ไอแพด และแท็บเลตอื่น ๆ โดยบริษัทวิจัย iSuppli ประเมินว่าบริษัทแม่ในญี่ปุ่นของบริษัทต่าง ๆ สร้างรายได้จากไมโครชิปมูลค่า 63.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปี 2010 คิดเป็นสัดส่วน 20.8% ของตลาดรวมทั่วโลก

ขณะ ที่รายงานของ DRAMeX Change ตลาดค้าชิปรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย เมื่อต้นสัปดาห์หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พบว่าราคาเฉลี่ยของ DRAM ชิปที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 5.5-6.8% ส่วน NAND แฟลชเมโมรี่ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการบันทึกข้อมูล เพลง ภาพในสมาร์ทโฟน เครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิทัล พบว่ามีราคาสูงขึ้น 12.5%

ชี้ชิ้นส่วนไอทีย้ายฐานไปจีน

อย่าง ไรก็ตาม นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานบริษัท ซินเน็ค ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มองว่าผลกระทบไม่น่าจะเกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากสินค้าไอทีและชิ้นส่วนต่าง ๆ ส่วนใหญ่ปัจจุบันย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ประเทศจีนกว่า 80% โดยสินค้าที่ซินเน็คเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยเฉพาะแฟลชเมโมรี่ พบว่าสินค้าผลิตในจีนเกือบทั้งหมดจึงไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในญี่ปุ่น ขณะที่สินค้าซึ่งผลิตในญี่ปุ่น และซินเน็คเป็นตัวแทนจำหน่ายนั้นมีเพียงจอมอนิเตอร์แบรนด์ไอโซเพียงอย่าง เดียว เน้นเจาะตลาดไฮเอนด์ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ และยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด

ค่ายรถยนต์ยอดผลิต มี.ค.ฮวบ

อุตสาหกรรมที่ถูกผลกระทบสึนามิฟาดเข้าใส่หนักสุด น่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกาศหยุดการผลิตลงทันที

สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ประกาศหยุดการผลิตชั่วคราว 12 โรงงานทั่วประเทศ เป็นเวลา 3 วัน (14-16 มีนาคม) เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและครอบครัว ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์อื่น อาทิ นิสสัน, มาสด้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, อีซูซุ, ไดฮัทสุ, ฮีโน่, ซูซูกิ และนิสสันยูดี ก็ระงับการผลิตชั่วคราวเช่นกัน

ส่วนด้านความเสียหายยังไม่สามารถระบุได้ แต่การหยุดผลิตทั่วประเทศครั้งนี้น่าจะทำโตโยต้าเสียตลาดประมาณ 40,000 คัน

ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า โรงงานผลิตรถยนต์ของค่ายโตโยต้าในประเทศไทย ได้ประกาศเลิกทำโอที (ทำงานล่วงเวลา) เป็นเวลา 5 วัน เนื่องมาจากมีวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบรถยนต์บางรายการที่ต้องซัพพลายจาก ต่างประเทศ อาจจะล่าช้า ส่วนระยะยาวนั้นคงต้องมีการหารือกันอีกครั้ง

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจพบว่าผลกระทบที่เกิดจากการขาดแคลนชิ้นส่วนนั้นไม่มากนัก เพราะใช้จากผู้ผลิตในประเทศมากกว่า จะมีการนำเข้า (ซีเคดี) บ้างก็เล็กน้อย คาดว่าในสัปดาห์หน้าคงได้ข้อสรุปชัดเจน โดยเฉพาะผลกระทบต่อยอดการผลิตรถยนต์โดยรวมในเดือนมีนาคมนี้ จะทำให้ยอดการผลิตน้อยกว่าประมาณการ โดยเฉพาะช่วงครึ่งเดือนหลัง ซึ่งจะมีผลโยงไปถึงการส่งมอบรถให้กับลูกค้า

"เจโทร" ไม่เปลี่ยนแผน

นาย มูเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า การขยายตัวของบริษัทญี่ปุ่นมายังเอเชียจะไม่เปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาบริษัทญี่ปุ่นได้จัดสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งความสำคัญที่มีให้ไทยในฐานะฐานการผลิตและส่งออกจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือ สั่นคลอนอย่างแน่นอน ส่วนระยะสั้นคงได้รับผลกระทบในเรื่องนำเข้าชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบจากญี่ปุ่น หรือที่ต้องนำเข้าจากไทยเช่นกัน

ด้านแหล่ง ข่าวจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) กล่าวว่า การปล่อยวงเงินกู้ในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีปัญหา รวมถึงโครงการใหม่ที่มีแผนจะปล่อยกู้ในอนาคตด้วย

หุ้นร่วงต่ำกว่า 1,000 จุด

นับ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นลงผันผวนต่อเนื่อง ซึ่งดัชนีปรับตัวลงแรงทันทีที่เปิดตลาดรอบบ่ายวันที่ 11 มี.ค. และปิดที่ระดับ 1,007.06 จุด ลดลง 12.16 จุด แต่ในต้นสัปดาห์มีแรงซื้อ

เก็ง กำไรหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นการซื้อดักหน้าข่าวญี่ปุ่นปิดโรงกลั่น หนุนราคามีแนวโน้มปรับขึ้น ดันดัชนีปิดที่ 1,022.87 จุด เพิ่มขึ้น 15.83 จุด (14 มี.ค.) แต่เมื่อเกิดข่าวลบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของญี่ปุ่นระเบิด ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลงแรงอีกระลอก โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหลุดแนวต้านใหญ่ 1,000 จุด มาต่ำสุดที่ 996.44 จุด ปิดตลาดที่ 1,003.10 จุด ลดลง 19.79 จุด หรือ -1.93% มูลค่าการซื้อขาย 37,651 ล้านบาท ขณะที่วันที่ 11 และ 14 มี.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,582 ล้านบาท

BOI หนุนย้ายฐานมาไทย

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการดำเนินงานประสานงานและจะเชิญบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยมาหารือ แนวทางช่วยเหลือผู้ที่มีบริษัทแม่ได้รับความเสียหายจาก

สึนามิจะ กระทบมาถึงการผลิตในไทยมากน้อยเพียงใด ทางบีโอไอพร้อมสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อุปกรณ์ และชิ้นส่วนที่บริษัทแม่หลายรายมีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่

ดังกล่าว พร้อมมีแนวคิดจะจัดตั้งทีมงานขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่โครงการลงทุนจาก ญี่ปุ่น ที่อาจย้ายฐานการผลิตหรือเข้ามาขยายการลงทุนในไทย


วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประชาชาติธุรกิจ

14 March 2011

Nuclear Plants in Europe Are Delayed



By JUDY DEMPSEY

BERLIN — With the crisis in Japan raising fears about nuclear power, Germany and Switzerland said on Monday that they would reassess the safety of their own reactors and possibly reduce their reliance on them.

Doris Leuthard, the Swiss energy minister, said Switzerland would suspend plans to build and replace nuclear plants. She said no new ones would be permitted until experts had reviewed safety standards and reported back. Their conclusions will apply to existing plants as well as planned sites, she added. Swiss authorities recently approved three sites for new nuclear power stations.

Germany will suspend “the recently decided extension of the running times of German nuclear power plants,” Chancellor Angela Merkel told reporters in Berlin. “This is a moratorium and this moratorium will run for three months.” She said the suspension would allow for a thorough examination of the safety standards of the county’s 17 nuclear power plants.

“There will be no taboos,” Mrs. Merkel said.

Even when the three months is over, Mrs. Merkel warned, there would be no going back to the situation before the moratorium.

Across Europe, officials worried about the Continent’s use of nuclear power as cooling systems failed at a third nuclear reactor in Japan and officials in that country struggled to regain control.

The European Union called for a meeting on Tuesday of nuclear safety authorities and operators to assess Europe’s preparedness. Austria’s environment minister, Nikolaus Berlakovich, called for a European Union-wide stress test “to see if our nuclear power stations are earthquake-proof.”

In Germany, with Mrs. Merkel’s center-right coalition facing important regional elections this month, the move was apparently in part an effort to placate the influential antinuclear lobby and give her coalition some breathing space before making a final decision about nuclear energy.

The foreign minister, Guido Westerwelle, called for a new risk analysis of the country’s nuclear plants, particularly regarding their cooling systems. He is the leader of the pro-business Free Democratic Party, which strongly supports nuclear power.

A previous government, led by the Social Democrats and Greens, pushed through legislation in 2001 to close all of the country’s nuclear plants by 2021. But Mrs. Merkel’s center-right government reversed that decision last year and voted to extend the lives of the plants by an average of 12 years.

Nuclear energy provides about 11 percent of Germany’s energy supply but its contribution to electricity output is about 26 percent.

In Switzerland, the suspension of plans to build and replace plants will affect all “blanket authorization for nuclear replacement until safety standards have been carefully reviewed and if necessary adapted,” Ms. Leuthard, the energy minister, said in a statement.

Switzerland has five nuclear reactors, which produce about 40 percent of the country’s energy needs.

Ms. Leuthard said she had already asked the Federal Nuclear Safety Inspectorate to analyze the exact cause of the problems in Japan and draw up new or tougher safety standards “particularly in terms of seismic safety and cooling.”

In Russia, Prime Minister Vladimir V. Putin said his government would not revise its ambitious program of building nuclear reactors but would “draw conclusions from what’s going on in Japan,” Russian news agencies reported. Nuclear power currently accounts for 16 percent of Russia’s electricity generation.

09 March 2011

ตะลึง วิกฤตลิเบียอาจถีบราคาน้ำมันสูงพุ่งถึง 200 ดอลล์ เตือน"อัลจีเรีย-ไนจีเรีย"เสี่ยงเพิ่มอ่วม

สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ว่า นักวิเคราะห์แห่งหน่วยงานลงทุน"บาร์เคลย์ แคปปิตอล"เปิดเผยว่า สถานการณ์ความรุนแรงในลิเบียเสี่ยงที่จะทำให้โลกเกิดปัญหาปริมาณน้ำมันใน ตลาดไม่เพียงพอ และอาจผลักดันให้ตัวเลขราคาน้ำมันพุ่งสูงได้ถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากปัจจุบัน 105 ดอลลาร์ต่อบาเรล



รายงานระบุว่า ก่อนหน้านี้ หน่วยงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือไออีเอ ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้โลกได้ขาดปริมาณน้ำมันจากลิเบียเป็นจำนวน 2 ใน 3 จากที่เคยมี ในช่วงที่ลิเบียเกิดวิกฤตสงครามกลางเมืองรุนแรง โดยน้ำมันมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากทั้งหมด 1.6 ล้านบาร์เรล ของลิเบีย ไม่ได้เข้าสู่ตลาดน้ำมันโลก และราคาน้ำมันดิบสวีทไลท์ งวดส่งมอบล่วงหน้าเดือนเม.ย.เพิ่งทำสถิติปรับตัวสูงขึ้นเป็น 106.95 หรือสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 2.5 ปี



นอกจากนี้ แผนกวิเคราะห์ของธนาคารโนมุระของญี่ปุ่น รายงานด้วยว่า ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้นเป็น 220 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากสถานการณ์วุ่นวายในอัลจีเรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกเอเปก ส่วน"บาร์เคลย์ แคปปิตอล"เตือนด้วยว่า อีกหนึ่งปัจจัยน้ำมันแพงยิ่งขึ้นที่อาจเกิดขึ้น คือ จากไนจีเรีย ซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเร็วๆ นี้ โดยหากการเลือกตั้งเกิดความวุ่นวาย



รายงานนี้มีขึ้นแม้ว่าก่อนหน้านี้ ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นชาติหมายเลขหนึ่งของโอเปก ยืนยันว่า โอเปกมีปริมาณน้ำมันเพียงพออย่างยิ่ง ที่จะรองรับความต้องการของทั่วโลก

มติชนออนไลน์

Sponsor